อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ของ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5

(๑) ฝ่ายอำนวยการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

๑) งานธุรการและงานสารบรรณ
๒) งานบริหารงานบุคคล
๓) งานคดีและวินัย
๔) งานนโยบายและแผน และงานยุทธศาสตร์
๕) งานการเงินและงานบัญชี
๖) งานงบประมาณ
๗) งานส่งกำลังบำรุง
๘) งานสวัสดิการ
๙) งานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการ
๑๐) งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๑๑) งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
๑๒) งานศึกษาอบรม
๑๓) งานบันทึก ตรวจสอบ ควบคุม และรายงานข้อมูลสถานภาพกำลังพลของข้าราชการตำรวจในสังกัด รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวกับฐานข้อมูลกำลังพลกลางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และดำเนินการเพื่อให้ข้อมูลสถานภาพกำลังพลในความรับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
๑๔) ดำเนินการงานทะเบียนประวัติอาชญากร แผนประทุษกรรม สมุดภาพคนร้าย การสเก็ตซ์และประกอบภาพใบหน้าคนร้าย บุคคลพ้นโทษ หมายจับ ทรัพย์หาย คนหาย พลัดหลงงานตรวจสอบประวัติลายพิมพ์นิ้วมือ
๑๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
๑๖) งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมิได้อยู่ในหน้าที่ของฝ่ายใดโดยเฉพาะ
๑๗) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๒) กลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจสถานที่เกิดเหตุในคดีต่าง ๆ งานถ่ายภาพ เพื่อสนับสนุนพนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์พิสูจน์หลักฐานแต่ละหน่วยงาน โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงาน งานรับแจ้งเหตุ และงานบันทึกประจำวันของกลุ่มงาน
๒) ตรวจสถานที่เกิดเหตุในคดีต่าง ๆ และเก็บรวบรวมพยานหลักฐานของกลางในที่เกิดเหตุ เพื่อสนับสนุนพนักงานสอบสวนในพื้นที่รับผิดชอบ
๓) ตรวจเปรียบเทียบร่องรอยการเฉี่ยวชน
๔) ตรวจร่องรอยและรวบรวมพยานหลักฐานของกลาง เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน
๕) ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๖) ถ่ายภาพ พิมพ์ภาพ และอัดรูปพยานหลักฐานของกลาง ร่องรอยต่าง ๆเพื่อเปรียบเทียบในการตรวจพิสูจน์ของผู้ชำนาญการหรือผู้ตรวจพิสูจน์
๗) ถ่ายภาพ พิมพ์ภาพ และอัดรูปในงานราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
๘) ดำเนินการจัดทำรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ส่งของกลางให้พนักงานสอบสวน และเก็บรักษาสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
๙) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๓) กลุ่มงานตรวจเอกสาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจพิสูจน์ประเภทเอกสาร วัตถุ ร่องรอย และเงินตราปลอมแปลง โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน
๒) ตรวจพิสูจน์ลายมือเขียน ลายมือชื่อในเอกสารของกลาง เปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือเขียน ลายมือชื่อตัวอย่างว่าเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่
๓) ตรวจพิสูจน์ตัวอักษรพิมพ์ดีดในเอกสารของกลาง เปรียบเทียบกับตัวอักษรพิมพ์ดีดที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดีดของกลางว่าพิมพ์มาจากเครื่องพิมพ์ดีดเครื่องเดียวกันหรือไม่
๔) ตรวจพิสูจน์ตัวอักษรพิมพ์ดีดในเอกสารของกลางแผ่นเดียวกันว่าพิมพ์ขึ้นในคราวเดียวกันหรือพิมพ์คนละครั้ง
๕) ตรวจพิสูจน์เอกสารเพื่อหาร่องรอยของการแก้ไข ขูดลบ ลบล้างด้วยน้ำยาเคมี
๖) ตรวจพิสูจน์ข้อความเดิมจากเอกสารที่มีการแก้ไขต่อเติม ลบล้างด้วยน้ำยาเคมี ตรวจเส้นหมึกที่เขียนตัดกันว่าเส้นใดเขียนก่อนหรือหลัง
๗) ตรวจพิสูจน์ข้อความที่เกิดจากรอยกดบนแผ่นกระดาษที่รองการเขียน
๘) ตรวจพิสูจน์ข้อความในเอกสารที่ถูกไฟไหม้ ซึ่งอยู่ในลักษณะเกรียมดำแต่ยังไม่แตกชำรุด
๙) ตรวจเปรียบเทียบชนิดของหมึก ชนิดของกระดาษเอกสาร
๑๐) ตรวจพิสูจน์ร่องรอยต่าง ๆ บนเอกสาร และวัตถุพยานอื่น ๆ เช่น รอยฉีกขาด รอยตัด รอยกด รอยประทับตราต่าง ๆ
๑๑) ตรวจพิสูจน์เหรียญกษาปณ์ ธนบัตรปลอม หรือเอกสารหนังสือสำคัญ เช่น หนังสือเดินทาง ประกาศนียบัตร หรือบัตรสำคัญประจำตัว
๑๒) ตรวจรอยตราบนไม้ของกลางในที่เกิดเหตุ
๑๓) ดำเนินการจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ รับ – ส่งของกลาง เก็บรักษาของกลาง และสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
๑๔) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๔) กลุ่มงานตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุน มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจขีปนวิธี การตรวจเปรียบเทียบเครื่องกระสุนปืน ตรวจชนิดขนาดของอาวุธปืน และร่องรอยบนวัตถุ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน
๒) ตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
๓) ตรวจหาเขม่าปืนที่มือศพ และบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผู้ต้องสงสัย
๔) ตรวจวิเคราะห์เนื้อโลหะของกระสุนปืน
๕) ตรวจหาวิถีกระสุนปืน อำนาจการทะลุทะลวงของกระสุนปืน ระยะยิงบนสิ่งของ และตรวจหาร่องรอยกระสุนปืนที่ปรากฏบนวัตถุว่าเป็นรอยกระสุนปืนหรือไม่
๖) ตรวจหาเขม่าดินปืนภายในลำกล้องปืน เสื้อผ้า และวัตถุพยานอื่น ๆ
๗) ตรวจเปรียบเทียบลูกกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนว่าใช้ยิงมาจากอาวุธปืนที่ต้องสงสัยหรือไม่
๘) ตรวจพิสูจน์อาวุธปืน ชิ้นส่วนของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ว่าเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืนหรือไม่ เป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามแบบที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้หรือไม่
๙) ตรวจพิสูจน์ชนิด ขนาดของอาวุธปืน ชิ้นส่วนของอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน
๑๐) ตรวจสภาพของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน รอยขูดลบแก้ไข เครื่องหมายทะเบียน และเลขหมายประจำปืน
๑๑) ตรวจเปรียบเทียบร่องรอย ชนิดรอยกด รอยเสียดสี รอยเจาะ รอยเลื่อยรอยฟัน และรอยอื่น ๆ บนวัตถุ ซึ่งเกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้กับรอยที่ทำขึ้นจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องสงสัย เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นร่องรอยที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้อันเดียวกันหรือไม่
๑๒) ตรวจเปรียบเทียบลูกกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ด้วยระบบอัตโนมัติ และจัดทำฐานข้อมูลเก็บไว้ในเครื่องตรวจเปรียบเทียบลูกกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนด้วยระบบอัตโนมัติ
๑๓) ควบคุม ตรวจสอบ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ทางวิทยาศาสตร์ให้สามารถใช้งานได้ภายใต้มาตรฐานของผู้ผลิตเครื่องมือแต่ละชนิด
๑๔) ดำเนินการจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ รับ – ส่งของกลาง เก็บรักษาของกลาง และสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
๑๕) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๕) กลุ่มงานตรวจทางเคมี ฟิสิกส์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานตรวจพิสูจน์ที่ต้องใช้หลักวิชาทางเคมีและฟิสิกส์ เช่น สารเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุปลอมปน (ทอง, นาก) รอยขูดลบหมายเลขบนโลหะ มิเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า กระจก ดิน หิน ทราย เส้นใย จับเท็จ สี การตรวจเปรียบเทียบวัตถุพยานต่าง ๆ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน
๒) ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีต่าง ๆ ที่ต้องใช้หลักวิชาทางเคมีและฟิสิกส์
๓) ตรวจพิสูจน์การขูดลบแก้ไขหมายเลขประจำรถและทรัพย์สินที่ทำด้วยโลหะ
๔) ตรวจพิสูจน์ชนิดและคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
๕) ตรวจพิสูจน์วัตถุของกลางปลอมปน เช่น ทอง เงิน นาก และอัญมณีต่าง ๆ
๖) ตรวจพิสูจน์ของเหลวปลอมปน เช่น น้ำมันปลอมปน
๗) ตรวจพิสูจน์สารเคมี
๘) ตรวจพิสูจน์สี
๙) ตรวจพิสูจน์ของกลางในคดีเพลิงไหม้ทางเคมี เช่น คราบน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมีไวไฟ
๑๐) ตรวจพิสูจน์ของกลางในคดีเพลิงไหม้ทางฟิสิกส์ เช่น สายไฟฟ้า ฟิวส์ เตารีด พัดลม และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
๑๑) ตรวจพิสูจน์การดัดแปลงแก้ไขมิเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า
๑๒) ตรวจพิสูจน์บุคคลด้วยเครื่องจับเท็จ
๑๓) ตรวจวิเคราะห์ ทดสอบ วัสดุและเส้นใย
๑๔) ตรวจเปรียบเทียบของกลางต่าง ๆ เช่น สี กระจก ดิน หิน ทราย เส้นใย ฯลฯ
๑๕) ตรวจพิสูจน์ของกลางอื่น ๆ ทางเคมีและทางฟิสิกส์
๑๖) ดำเนินการจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ รับ – ส่งของกลาง เก็บรักษาของกลาง และสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
๑๗) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๖) กลุ่มงานตรวจยาเสพติด มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด แหล่งผลิตยาเสพติด และยาพิษ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน
๒) ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดด้านคุณภาพวิเคราะห์ ปริมาณวิเคราะห์ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติด และจัดทำฐานข้อมูลเก็บไว้ในระบบเครื่องอัตโนมัติ
๓) รวบรวมของกลางยาเสพติดที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ส่งเก็บรักษาที่กระทรวงสาธารณสุข
๔) ตรวจพิสูจน์ยาพิษหรือสารพิษจากอาหาร เครื่องดื่ม และจากวัตถุอื่น ๆที่เกี่ยวข้องในคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายมนุษย์
๕) ดำเนินการจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ รับ – ส่งของกลาง เก็บรักษาของกลาง และสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
๖) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๗) กลุ่มงานตรวจลายนิ้วมือแฝง มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแฝง โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน
๒) ตรวจลายนิ้วมือแฝงโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
๓) ตรวจพิสูจน์จุดลักษณะสำคัญของลายนิ้วมือ ฝ่ามือ และฝ่าเท้าแฝง
๔) ตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ และฝ่าเท้าแฝง กับลายนิ้วมือ ฝ่ามือ และฝ่าเท้าตัวอย่าง เพื่อยืนยันตัวบุคคล
๕) ตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ และฝ่าเท้าปัญหา กับลายนิ้วมือ ฝ่ามือ และฝ่าเท้าตัวอย่างในคดีแพ่งและคดีอาญา
๖) ตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝงและลายพิมพ์นิ้วมือกับฐานข้อมูลลายนิ้วมืออัตโนมัติ
๗) รวบรวมจัดทำสารบบลายนิ้วมือ ฝ่ามือ และฝ่าเท้าแฝง
๘) ดำเนินการจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ รับ – ส่งของกลาง เก็บรักษาของกลาง และสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
๙) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๘) กลุ่มงานตรวจชีววิทยาและดีเอ็นเอ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานตรวจพิสูจน์ที่ต้องใช้หลักวิชาทางชีววิทยา เช่น โลหิต อสุจิ สารพันธุกรรม เส้นผม เส้นขน การตรวจเปรียบเทียบวัตถุพยานต่าง ๆ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน
๒) ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีต่าง ๆ ที่ต้องใช้หลักวิชาทางชีววิทยา
๓) ตรวจพิสูจน์คราบโลหิตมนุษย์
๔) ตรวจพิสูจน์คราบอสุจิ
๕) ตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA)
๖) ตรวจเปรียบเทียบเส้นผม เส้นขนมนุษย์
๗) ตรวจเปรียบเทียบสารพันธุกรรม (DNA)
๘) ดำเนินการจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ รับ – ส่งของกลาง เก็บรักษาของกลาง และสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
๙) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๙) กลุ่มงานตรวจพิสูจน์อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน
๒) ตรวจพิสูจน์ข้อมูลดิจิตอลที่บันทึกในหน่วยบันทึกข้อมูลหรือหน่วยความจำคอมพิวเตอร์
๓) ตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
๔) ตรวจพิสูจน์การตัดต่อสื่อบันทึกเสียงและวีดิทัศน์
๕) ตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบร่องรอยบนแผ่นซีดี
๖) ดำเนินการจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ รับ – ส่งของกลาง เก็บรักษาของกลาง และสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
๗) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๑๐) กลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

๑) ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์หลักฐาน และการตรวจสถานที่เกิดเหตุของศูนย์พิสูจน์หลักฐานแต่ละหน่วย
๒) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานการตรวจพิสูจน์หลักฐาน และการตรวจสถานที่เกิดเหตุของศูนย์พิสูจน์หลักฐานแต่ละหน่วย
๓) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


(๑๑) พิสูจน์หลักฐานจังหวัด มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจสถานที่เกิดเหตุและถ่ายภาพ งานตรวจเปรียบเทียบร่องรอยการเฉี่ยวชน งานตรวจพิสูจน์ยาเสพติดและหลักฐานอื่น ๆ และงานทะเบียนประวัติอาชญากร ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของแต่ละจังหวัด โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ สถิติผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน
๒) ตรวจสถานที่เกิดเหตุและถ่ายภาพในคดีต่าง ๆ และเก็บรวบรวมพยานหลักฐานของกลางในที่เกิดเหตุ เพื่อสนับสนุนพนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๓) ตรวจเปรียบเทียบร่องรอยการเฉี่ยวชน
๔) ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดด้านคุณภาพวิเคราะห์ ปริมาณวิเคราะห์ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติด และจัดทำฐานข้อมูลเก็บไว้ในระบบเครื่องอัตโนมัติ รวมทั้งตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานอื่น ๆ ทได้รับมอบหมายตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนประวัติอาชญากร แผนประทุษกรรมสมุดภาพคนร้าย บุคคลพ้นโทษ หมายจับ ทรัพย์หาย คนหาย พลัดหลง และงานตรวจสอบประวัติลายพิมพ์นิ้วมือ
๖) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย