• Welcome to เว็บบอร์ด ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5.
 

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

เริ่มโดย admin_01, 27 สิงหาคม 2014 10:01

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

admin_01

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง


วัดพระเจดีย์ซาวหลัง (คำเมือง: ) ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ 5 กิโลเมตรตามถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม เป็นวัดใหญ่อยู่กลางทุ่งนา บริเวณวัดร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ "ซาว" แปลว่า 'ยี่สิบ' และ "หลัง" แปลว่า 'องค์' วัดพระเจดีย์ซาวหลัง แปลว่า วัดที่มีเจดีย์ 20 องค์

วัดนี้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดลำปางสร้างแต่โบราณ ทรงคุณค่าทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุ จากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องสมัยหริภุญชัยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างมานานกว่าพันปีสิ่งที่น่าชมภายในวัดคือ องค์พระธาตุเจดีย์ซาว ที่มีศิลปะล้านนาผสมศิลปะพม่า ข้างหมู่พระเจดีย์มีวิหารหลังเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ ศิลปะเชียงแสน ชาวบ้านเรียกว่า "พระเจ้าทันใจ"

พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ

พระอุโบสถหลังใหญ่ซึ่งประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีพุทธลักษณะงดงาม บานประตูทั้งสามเป็นของโบราณ เขียนลวดลายรดน้ำละเอียดสวยงาม เสาซุ้มประตูหน้าต่างประดับลวดลายกระจกสีเป็นลักษณะศิลปะสมัยใหม่ และที่ศาลาการเปรียญเรือนไม้ชั้นเดียวด้านหลังพระอุโบสถ ได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2526 ชาวบ้านได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์หนัก 100 บาทสองสลึง มามอบให้แก่ทางวัดซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ชื่อว่า พระแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้วครึ่ง สูง 15 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ

ที่ตั้ง    ตำบลต้นธงชัย  อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ประเภท   พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ   ลักษณะทางสถาปัตยกรรม   ศิลปะเชียงแสนผสมพม่า


ข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/   วัดพระเจดีย์ซาวหลัง






admin_01


admin_01

วัดเจดีย์ซาวหลัง



         วัดเจดีย์ซาวหลังหรืออีกนามหนึ่งที่ผู้เฒ่าผู้แก่เรียกกันจนติดปากว่า ?วัดป่าเจดีย์ซาวหลัง? เป็นปูชนียสถานที่เป็นศรีสง่า และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองลำปาง วัดนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ตามถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม อยู่ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร นักเขียนผู้หนึ่งพรรณนาว่า เมื่อถึงบ้านทุ่งฝายมองจากถนนใหญ่ด้านซ้ายมือจะเห็นหมู่พระเจดีย์ซาวอยู่กลางทุ่งนาสีเขียวขจี แต่ถ้าเป็นเวลาที่เก็บเกี่ยวแล้วก็แลเห็นเป็นหมู่พระเจดีย์สีขาวกลางนาสีน้ำตาล บริเวณวัดนี้มองดูสวยงามยิ่งนักในยามเช้าและยามเย็นแสงแดดอ่อนๆ ที่สาดส่องพระเจดีย์สีขาว จะช่วยให้เกิดแสงและเงาสะท้อนดูสวยงาม

         หมู่เจดีย์รวม 20 องค์ จึงเรียกว่า เจดีย์ซาว เพราะคำว่า ซาว เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ยี่สิบ เล่ากันมาว่าผู้ที่ไปนมัสการมักจะนับเจดีย์ไม่ครบ 20 องค์ หรือบางทีก็นับเกิน 1 องค์ มีตำนานเล่ากันว่าสาเหตุนี้ขึ้นอยู่กับบาปบุญของแต่ละคน
             
             วัดนี้สร้างกันมาแต่โบราณแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด พ.ศ. เท่าใดแน่ ตามทางสันนิษฐาน ประกอบกับได้ชุดพระเครื่องสมัยหริภุญไชยที่องค์พระเจดีย์ เข้าใจกันว่าสร้างมาประมาณพันกว่าปีมาแล้ว

           บริเวณวัดเจดีย์ซาว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 เป็นที่รกชัฏเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุมบรรยากาศเงียบวังเวงน่าสะพรึงกลัว ชาวบ้านหากไม่มีกิจจำเป็นแล้วจะไม่ยอมเดินผ่านไปมาเลย ภายในวัดไม่มีเสนาสนะสิ่งก่อสร้างอื่นใดอยู่ในสภาพดี คงมีแต่กลุ่มพระเจดีย์อยู่ในหมู่ไม้อันรกชัฏ พร้อมกับเนินซากพระวิหารด้านเหนือและมีประรำมุงด้วยหญ้าคาหลักเล็กๆ พอเป็นที่กำบังฝนชั่วคราวของชาวบ้านในถิ่นนั้น ทำขึ้นเพื่อประกอบกิจการกุศลในวันเพ็ญเดือน 9 เหนือ

          ต่อมาได้มีพระภิกษุชาวพม่ารูปหนึ่ง ชื่อ ? อูชะยันต่าเถระ ? ซึ่งเล่าเรียนจบพระไตรปิฎกมาจากเมืองมัณเล ประเทศพม่า ท่านได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์พม่าให้มาทำการสอนพระบาลีคัมภีร์พระไตรปิฎก และสอนพระปฏิโมกข์แห่งพระสงฆ์ชาวพม่าที่อยู่ในเมืองนครลำปาง และเพื่อศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวลานนาไทย ในการมาครั้งนั้นท่านท่านได้คัดเอาตำนานวัดเจดีย์ซาวจากประเทศพม่าติดตัวมาด้วย (สาเหตุที่ตำนานตกไปอยู่ที่ประเทศพม่า สันนิษฐานว่าสมัยก่อนหัวเมืองฝ่ายเหนือถูกพม่ารุกราน ทรัพย์สิ่งของต่างๆ ตลอดถึงของมีค่าจึงถูกรวบรวมไปยังประเทศพม่า )
 
           สรุปความจากตำนานดังนี้ หลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วประมาณ 500 ปี มีพระอรหันต์ 2 รูป จารึกมาจากชมพูทวีปเพื่อประกาศพระศาสนา พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองได้จาริกผ่านสถานการณ์ต่างๆ เรื่อยมาจนถึงบริเวณที่ตั้งวัดพิจารณาเห็นว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่มีทำเลดี เหมาะสมกับสมณเพศ จึงได้ยึดถือเป็นที่พำนักจำพรรษาได้เผยแพร่ศีลธรรมเทศนาสั่งสอนผู้คนในถิ่นใกล้เคียง

           ในการครั้งนั้น ยังมีพระยาองค์หนึ่งมีพระนามว่า ? พระยามิลินทร์ ? ได้มาพบพระอรหันต์ไต่ถามปัญหาธรรมะข้อข้องใจในการประพฤติปฏิบัติ ในที่สุดปัญญา คือ ความรอบรู้ในเหตุและผลก็บังเกิดขึ้น พร้อมกันนั้นก็บังเกิดศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสในพระอรหันต์ทั้งสองเป็นที่สุด ได้ปวารณาตนเป็นศิษย์และมีพระประสงค์จะสร้างถาวรวัตถุขึ้น ณ ที่นั่น พระยามิลินทร์และเสนาอำมาตย์อัญเชิญพระเกศาธาตุ (เส้นผม) จำนวน 20 เส้นของพระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองซึ่งบรรจุไว้ในผอบทองคำ ลงประดิษฐานในหลุมและให้ช่างก่อพระเจดีย์ครอบไว้จำนวน 20 องค์
            เมื่อพระอูชะยันต่าเถระอ่านตำนานเจดีย์ซาวหลังให้ชาวพม่า และชาวบ้านฟังต่างก็มีจิตศรัทธาได้พร้อมใจกันออกค้นหาพระธาตุ ข่าวการค้นพบพระธาตุเจดีย์ซาวได้แพร่หลายไปสู่บรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไปในเมืองนครลำปาง และทราบไปถึงเจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิต ท่านทรงรับประธานพร้อมด้วยคหบดีราษฎรชาวไทย พม่า และไทยใหญ่ ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยลงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 แต่เป็นที่น่าเศร้าเสียใจสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วเมืองนครลำปาง คือในขณะที่กำลังบูรณะพระเจดีย์ เจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิต องค์ประธานในการบูรณะได้ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน ทายาทของเจ้าพ่อฯ ได้บูรณะพระเจดีย์ต่อจนเสร็จ และได้จัดงานฉลองสมโภชเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2467

สถานที่ควรชมภายในวัดเจดีย์ซาว

           พระธาตุเจดีย์ซาวเป็นเจดีย์ที่มีศิลปะลานนาผสมกับศิลปะพม่า ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐถือปูนองค์ใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง มีฐานกว้างด้านละ 6.20 เมตร สูง 11 เมตร ส่วนอีก 10 องค์นั้นมีขนาดเท่าๆ กัน ฐานกว้างด้านละ 4 เมตร สูง 6 เมตร ด้านหน้าของพระเจดีย์แต่ละองค์นั้นทำเป็นซุ้มมีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ข้างใน

            ข้างหมู่พระเจดีย์ซาวด้านหนึ่งมีวิหารเล็กสีขาวหลังหนึ่ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิศิลปะแบบเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง 90 เซนติเมตร สูง 120 เซนติเมตร ชาวเมืองลำปางเรียกชื่อพระพุทธรูปทันใจ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากค่ายสุรศักดิ์มนตรีเมื่อ พ.ศ. 2464
 
           วัดนี้มีพระอุโบสถหลังใหญ่เป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2474 พระประธานมีพระพุทธลักษณะงดงามเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่อด้วยดิฐถือปูน หน้าตักกว้าง 3.20 เมตร สูง 4.70 เมตร เสาซุ้มประตูและหน้าต่างประดับด้วยลวดลายกระจกสี แต่ที่บานประตูทั้งสามนั้นคงจะเป็นประตูเก่า เขียนลวดลายประดับลายรดน้ำเป็นลายเครือเถาละเอียดและสวยงามมากน่าเสียดายว่าลายรดน้ำที่บานประตูนั้นบางส่วนกร่อนหลุดไปบ้างแล้ว

            พระวิหารอยู่เหนือพระอุโบสถ ตัววิหารติดกับพระเจดีย์ ภายในพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางวิชัย ก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.50 เมตร ตัววิหารบูรณะขึ้นจากของเก่า โดยย่อส่วนให้เล็กลงเมื่อ พ.ศ. 2464

           บ่อน้ำสองพี่น้อง ก่อด้วยอิฐถือปูนปากบ่อกว้าง 80 เซนติเมตร ลึก 3 เมตร อยู่ทางทิศเหนือของวัดบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2464 ในตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นโดยชายอนาถาสองพี่น้องเพื่อถวานแด่พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสององค์หลังจากพุทธนิพพาน ประมาณ 500 ปี

          ต้นมะม่วงสองพี่น้อง โคนต้นวัดโดยรอบ 5.60 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร ในตำนานกล่าวว่าปลูกโดยชายอนาถาผู้พี่ เพื่อถวายแด่พระอรหันต์หลังจากขุดบ่อน้ำ

            ถ้ำจำลอง อยู่ทางทิศเหนือหลังวิหาร ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นหล วงพ่อมะขามเฒ่า (พระครูวิมลคุณากร) พระอาจารย์ของ พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงค์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511

           ที่ศาลาการเปรียญเรือนไม้ชั้นเดียวด้านหลังพระอุโบสถ ทางวัดจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งแสดงของเก่าแก่ชาวบ้านที่นำมาถวายไว้ ปัจจุบันได้รับงบพัฒนาจังหวัด สร้างพิพิธภัณฑ์หลังใหม่แล้ว

           วัดนี้มีประเพณีการทำบุญประจำปี ในวันเพ็ญเดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ใต้) เป็นประจำทุกปี

พระพุทธรูปแสนแซ่ทองคำ


          เป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์รวมน้ำหนัก 95.5 บาท ขนาดหน้าตักกว้าง 9.1/2 นิ้ว สูงจากฐานพระบัลลังค์ถึงปลายจิกพระเมาฬีรวม 15 นิ้ว โครงสร้างแบบพระแสนแซ่ทองคำช่างตีตกแต่งแบบโดยมิได้ใช้กรรมวิธีการหล่อทั้งองค์ แต่ใช้วิธีสร้างชิ้นๆ มีสลักประกอบรวมเป็นองค์ขึ้นได้ คือ ส่วนพระเศียรชั้นนอกเป็นชั้นลายเม็ดพระศก มีลายฝังอัญมณีแก้วยี่หล่าสีน้ำเงินขนาดเม็ดยาวกว่า 1 เซนติเมตร 1 เม็ด สีขาว สีแดงเข้มและสีทับทิม ทรงจิกพระเมาฬี มีลายประด้วยอัญมณีแบบส่วนขององค์พระเจดีย์พระเศียรชั้นใน เป็นชั้นที่ติดกับส่วนของพระพักตร์ พื้นเกลี้ยงไม่มีลายพระศก จิกพระเมาฬีชั้นในนี้ถอดได้ โดยมีหลอดทองคำสำหรับบรรจุพระสารีริกธาตุยาว 2 นิ้วครึ่ง ทรงกลมกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร สร้างแบบพระเศียร 2 ฤดู ขณะที่ได้ขึ้นมาไม่ได้พระสารีริกธาตุ ส่วนพระเศียรนี้พระกรรณทั้งสองข้างสร้างแบบสลักถอดได้ รวมส่วนพระเศียรใช้เนื้อทองคำหนักประมาณ 16 บาท พระศอมีรูสำหรับสอดสลักเพื่อเข้าต่อกับตัวองค์พระ ขณะที่ได้ส่วนพระกรทั้งสองข้างและพระสังฆาฏิแยกได้อีกต่างหาก พระทองคำนี้ไม่มีใส้ ในกลวงทั้งองค์ มีลักษณะฝีมือสร้างประณีตระดับช่างชาวหลวง

           โดยพระพุทธลักษณะเทียบตามส่วนสัดตำหรับ ? โบราณลักษณะพระเจ้า ? แล้วจัดเป็นพระที่มีลักษณะคือช่วงกลางของขอบพระชานะทาบเป็นว่า ? แต๊กหว่างเช่าขึ้นเบี่ยงดัง ? จึงพออนุมาณกำหนดได้ว่า พระพุทธรูปนี้เป็นแบบเชียงแสน สมัยที่ 3 ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 พุทธลักษณะที่จัดอยู่ในส่วนสัดพระสีหลักระดับนี้ ได้แก่ พระรัตนพิมพ์ (พระยามณีคัตนุปฏิมากรแก้วมรกต) พระแก้วดอนเต้า (อิทธิพลพระแก้ว สมัยเกาะตอนแทนเชียงแสน) ปลายพระหัตถ์เสมอกันตามอิทธิพลสมัยพระพุทธชินราช เค้าพระพักต์อิทธิพลสุโขทัย

ข้อมูลจาก :  http://www.lampangcity.go.th/travel_lampang

admin_01

#3