• Welcome to เว็บบอร์ด ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5.
 

โครงการ “ตำรวจไทยใจสะอาด”

เริ่มโดย chusit, 26 มิถุนายน 2014 11:32

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

chusit








โครงการ “ตำรวจไทยใจสะอาด”


อ้างถึง๑. หลักการและเหตุผล

   แผนปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ๔ ปี(พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๘) ที่ใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติราชการและหน่วยงานในสังกัดที่ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำของหน่วย โดยมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนบริการราชการแผ่นดิน และยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๖๔  ในการส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณธรรมของข้าราชการตำรวจ  ซึ่งคำนึงถึงค่านิยมหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คือ  ๑. สมรรถนะ  ๒.สุจริต เป็นธรรม   ๓. ประชาชนเป็นศูนย์กลาง   ๔. บริการด้วยใจ  ดังนั้น  เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ตามยุทธศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ในยุทธศาสตร์ที่ ๒  การพัฒนางานตำรวจให้โปร่งใส  มีมาตรฐาน โดยมีเป้าประสงค์  คือ สังคมและประชาชนเชื่อมั่นต่อองค์กรตำรวจ ด้วยกลยุทธ์   ๑. เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยยึดหลักศักดิ์ศรี  จริยธรรมและหลักภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม   ๒. เสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ข้าราชการตำรวจในทุกระดับ

   หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา  ๓  ประการ   ได้แก่

   ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง  คือ  การลด ละ เลิก การทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรม ๑๐ ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว ๑๐ ประการ ที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

   ๒. การทำกุศลให้พร้อม  คือการทำความดีทุกอย่างตามกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ทั้งความดีทางกาย(ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนในทางไม่ชอบ  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตา ปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

   ๓. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ อะไรก็ตามที่ทำให้ทำให้สิ่งที่ทำ คำพูดที่ทำ อารมณ์ที่คิด เกิดเป็นจิตที่สะอาดประณีตสูงส่งด้วยคุณธรรม มโนธรรม เช่น ทาน สันโดษ เมตตากรุณา ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องขจัดความโลภ ความโกรธ และความหลง อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ให้บรรเทาเบาบาง จางหายสูญสิ้นไปจากจิตใจ ด้วยการรักษาจิต เจริญเมตตาภาวนา ฝึกสมาธิ และวิปัสสนาภาวนา

       สรุปใจความสำคัญคือให้ “ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์” เมื่อข้าราชการตำรวจได้ยึดหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าดังนี้แล้วการประกอบกิจการในหน้าที่ย่อมเป็นไปอย่างโปร่งใส มีมาตรฐาน สังคมและประชาชนก็จะเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาต่อองค์กรตำรวจ สถานีตำรวจภูธรกรับใหญ่ ซึ่งเป็นหน่วยงานใน


สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการตามโครงการ “ตำรวจไทยหัวใจสะอาด” เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมข้าราชการตำรวจให้บริการประชาชนด้วยความเสมอภาคเป็นธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล

๒. วัตถุประสงค์

   ๒.๑ เพื่อให้ข้าราชการตำรวจทุกระดับมีจิตสำนึกที่ดี ไม่พูดเท็จ ไม่คิดทุจริตคอร์รับชั่น มีการกระทำที่สุจริต ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ประพฤติปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง และยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องขอบธรรม

   ๒.๒ เพื่อสร้างสรรค์สังคมตำรวจไทยให้ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม กฎหมาย และกฎแห่งกรรม

   ๒.๓ เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจทุกระดับมีสมรรถนะและขีดความสามารถในการพัฒนาตน พัฒนางาน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และเป็นแบบอย่างที่ดีของการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม

๓.เป้าหมาย

   ๓.๑ ข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจภูธรกรับใหญ่ทุกนาย

๔.วิธีการดำเนินการ

   ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๖๐     ดังนี้

   ๔.๑ ขั้นตอนที่ ๑ จัดทำโครงการ  โดยมีผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรกรับใหญ่ เป็นผู้รับผิดชอบงานตามโครงการ

   ๔.๒ ขั้นตอนที่ ๒

         ๑) ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจกับข้าราชการตำรวจในสังกัด

         ๒) ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาหน่วยงานในสังกัดในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ นำไปสู่การส่งเสริมข้าราชการตำรวจไทยใจสะอาด ในกิจกรรม ดังนี้

         กิจกรรมที่ ๑ การประชุม สัมมนา การศึกษาดูงาน หรือการสิเทศงาน เพื่อส่งเสริมและประสานความ สัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ประพฤติปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ  ดำเนินการทุกเดือน

         กิจกรรมที่ ๒ อบรมให้ความรู้ เพื่อปลูกฝังด้านคุณธรรมและจริยธรรมแก่ข้าราชการตำรวจในสังกัดทุกนาย โดยดำเนินการร่วมกันเครือข่ายทุกภาคส่วน ในการเผยแพร่ข้อมูลด้านคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ นิมนต์พระภิกษุมาเทศนาสั่งสอน หรือเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายให้ได้รับความรู้เพื่อพัฒนาข้าราชการตำรวจให้กระทำความดี โดยการปลูกฝังความเป็นจริงของชีวิตให้ได้รับรู้เรื่องราวในเรื่องกรรมและผลของการกระทำ ที่จะทำให้ข้าราชการ

ตำรวจมีจิตสำนึกหมั่นสร้างกรรมดี ละเว้นจากความชั่วและใช้ชีวิตด้วยความรอบคอบไม่ประมาท ทุกหน่วยงานสามารถเลือกปฏิบัติในกิจกรรมที่กำหนด  ดำเนินการปีละ ๒ ครั้ง

         กิจกรรมที่ ๓ การปฏิบัติตนเพื่อสาธารณประโยชน์(จิตอาสา) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดทุกนาย เป็นผู้รู้จักเสียสละทรัพย์หรือแรงกาย ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังกัดเพื่อประโยชน์สุขของสังคมโดยส่วนรวม เช่น การบริจาคเงินให้แก่สาธารณกุศล การเป็นครูสอนเด็กในเขตชุมชน การใช้แรงกาย โดยการกวาดลานวัด ทาสี ขัดห้องน้ำวัด หรือสถานปฏิบัติธรรมต่าง ๆ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ การให้ความ

อนุเคราะห์แก่ผู้ป่วย โดยการไปเล่นดนตรีให้คนป่วยตามสถานพยาบาลต่าง ๆ และอื่น ๆ ดำเนินการ ๓ เดือนต่อ ๑ ครั้ง

๕. ระยะเวลาดำเนินการ    

  ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๖๐

๖. งบประมาณ

   ใช้งบปกติของหน่วย

๗. การรายงานผลและติดตามประเมินผล

   ๗.๑ รายงานผลการดำเนินการให้กองบัญชาการศึกษา ผ่านศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณธรรม กองบังคับการอำนวยการ ทราบในขั้นตอนที่ ๒ ภายในวันที่ ๑๐ ตุลาคมของทุกปี พร้อมเอกสาร

        ๑) เอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในภาพรวม ได้แก่ ภาพถ่าย ไฟล์ภาพถ่าย VDO หรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

        ๒) การเผยแพร่ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ เช่น การจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ผ่านเว็บไซด์ของหน่วยงาน เสียงตามสาย พอกระจายข่าว อื่น ๆ

๘. ผู้รับผิดชอบโครงการ

   ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๕

๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

   ๙.๑ ข้าราชการตำรวจ มีอุดมการณ์มีจิตสำนึกจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

   ๙.๒ ข้าราชการตำรวจ เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ ยึดมั่นในความสัตย์จริงในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม รู้จักแยกแยะถูกผิด ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบ ไม่คดโกง ไม่พูดเท็จ

   ๙.๓ ข้าราชการตำรวจ มีจิตสำนึกเพื่อร่วมรวบ ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างมีเหตุผลเสมอภาคเท่าเทียมกัน เคารพกฎระเบียบกติกา รับผิดชอบการกระทำและพร้อมให้ตรวจสอบได้

   ๙.๔ ข้าราชการตำรวจ มีความซื่อตรง ไม่โลภมาก รู้จักยับยั้ง ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความพอประมาณ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง