• Welcome to เว็บบอร์ด ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5.
 

แฮ็กข้อมูลเอทีเอ็ม (Update!รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไต้หวัน ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเชื่อมเบอร์ราชการไ

เริ่มโดย chusit, 12 พฤศจิกายน 2013 13:37

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

admin_01


chusit

แก๊งสกิมเมอร์อาละวาดหนัก ผู้เสียหายเข้าแจ้งความกว่า 20ราย


แก๊งสกิมเมอร์อาละวาดหนักในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความแล้วกว่า 20ราย เสียหายรวมกว่า 1.5 แสนบาท

ยังคงเป็นภัยสังคมสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนหลายราย กับการก่อเหตุของแก๊งสกิมเมอร์ที่ก่อเหตุขโมยรหัสข้อมูลจากบัตรเอทีเอ็มไปกดเงิน ล่าสุดแก๊งสกิมเมอร์กลับมาใช้ จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งดูดข้อมูลบัตรอีกครั้ง โดยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ วันดี สันติวุฒิเมธี โพสต์เตือนภัยชาวเชียงใหม่ ให้ระมัดระวังการใช้ตู้เอทีเอ็มถอนเงิน โดยเล่าเหตุการณ์ว่ามีคนรู้จักถูกถอนเงินสดออกจากบัญชี เป็นการถอนจากต่างประเทศ สูญเงินไปหลายหมื่นบาท เชื่อว่าเป็นฝีมือของแก๊งสกิมเมอร์ที่ก่อเหตุใน จ.เชียงใหม่



ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ผู้สื่อข่าวตรวจสอบ พบว่าเมื่อวันที่ 23 และ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่ สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รวม 5 ราย ว่าเงินในบัญชีถูกกดออกไปรายละหลักพันถึงหลักหมื่น ทั้งหมดถูกกดออกจากต่างประเทศ รวมเป็นเงินกว่า 1.5 แสนบาท ในจำนวนนี้มีที่ถูกกดเงินออกไปมากที่สุดเป็นเงิน 95,202 บาท จากบัญชีธนาคารกรุงเทพ ส่วนอีก 4 รายที่เหลือเป็นธนาคารไทยพาณิชย์แบะธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ผู้เสียหายทั้งหมด ไม่แน่ใจว่าตู้เอทีเอ็มที่ไปใช้บริการตู้ไหนที่ถูกติดตั้งเครื่องดูดรหัสบัตร หรือ สกิมเมอร์ เพียงแต่สงสัยว่าอาจเป็นตู้เอทีเอ็มในท้องที่ สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ หลังรู้ตัวได้แจ้งไปยังธนาคารเจ้าของบัญชีและเข้าแจ้งความกับตำรวจเพื่อเป็นหลักฐานในการขอให้ธนาคารคืนเงินให้ ขณะที่ทางธนาคารเจ้าของบัญชีผู้เสียหายกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

พ.ต.ท.ธงชัย บัวเงิน สารวัตรสอบสวน สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ ระบุว่า กรณีที่เกิดขึ้น ธนาคารเป็นผู้เสียหายเพราะเป็นผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเงินในบัญชีของเจ้าของบัญชี การแจ้งความมีขึ้นก็เพื่อนำเอกสารเป็นหลักฐานไปยืนยันกับทางธนาคาร สวนการสอบสวนจะต้องอยู่ที่ธนาคารว่าจะมีการแจ้งความให้ดำเนินคดีอย่างไรหรือไม่หลังจากนี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีผู้เสียหายอีกหลายสิบรายในท้องที่อื่นที่ต้องเสียหายในลักษณะเดียวกัน

ทั้งนี้ จ.เชียงใหม่ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีตู้เอทีเอ็มอยู่ทั่วเมืองหลายพันตู้ ที่ผ่านมามีผู้เสียหายถูกขโมยเงินจากบัญชีด้วยวิธีนี้มาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทุกธนาคารและตำรวจทุกท้องที่เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบความผิดปกติของตู้เอทีเอ็ม เพื่อป้องกันแก๊งสกิมเมอร์แอบติดตั้งอุปกรณ์ขโมยรหัส และช่วงที่ผ่านมาตำรวจยังจับกุมแก๊งสกิมเมอร์ที่เป็นชาวต่างชาติได้ ซึ่งทั้งหมดมีรูปแบบการก่อเหตุเดียวกันก็คือจะลักลอบนำเครื่องสกิมเมอร์พร้อมกล้องขนาดเล็กไปคอยบันทึกรหัสของบัตร เมื่อได้ข้อมูลและรหัส จะส่งไปยังเครือข่ายในต่างประเทศเพื่อบันทึกข้อมูลลงไปในบัตรใหม่และกดเงินสดออกจากบัญชี ขณะที่เจ้าของบัญชีกว่าจะรู้ตัวก็เมื่อมีเอสเอ็มเอสแจ้งเตือนเงินออก

ขณะที่ตำรวจที่ท้องที่ โดยเฉพาะในย่านแหล่งท่องเที่ยวและโรงแรมที่พักใน อ.เมืองเชียงใหม่ ได้เร่งประสานกับทุกธนาคารเพื่อหามาตรการตรวจสอบป้องกันแก๊งสกิมเมอร์แล้ว


ที่มา: https://news.mthai.com/general-news/572826.html

chusit

แก๊งสกิมเมอร์อาละวาดเชียงใหม่ ติดเครื่องดูดข้อมูลบัตร ATM


แก๊งสกิมเมอร์อาละวาดเชียงใหม่ ตั้งอุปกรณ์จับภาพ-อ่านข้อมูลบัตรเอทีเอ็มรุ่นเก่า ที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารดัง บริเวณประตูท่าแพ โชคดีพนักงานทำความสะอาดตู้ของธนาคารมาพบ เลยแจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ เร่งแกะรอยวงจรปิด ล่าตัว

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 2 มิ.ย. 60 พ.ต.ต.คทาวุฒิ หงษ์หนึ่ง สวป.สภ.เมืองเชียงใหม่ ร.ต.อ.ศุภกฤต วรรณทาตระกูล รอง สวป.สภ.เมืองเชียงใหม่ ได้รับแจ้งว่า ตู้เอทีเอ็มของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาท่าแพ ซึ่งอยู่ติดกับเซเว่นอีเลฟเว่น ก่อนถึงประตูท่าแพ ถนนท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ถูกแก๊งสกิมเมอร์นำเครื่องดูดข้อมูลบัตรเครดิต นำไปติดไว้ใต้ช่องสอดบัตรของตู้เอทีเอ็ม จึงได้ออกไปตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน สภ.เมืองเชียงใหม่

เมื่อไปถึงทางเจ้าหน้าที่ ได้ตรวจสอบตู้เอทีเอ็มดังกล่าว พบอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยอุปกรณ์ตัวแรกนั้นเป็นลักษณะเหมือนกล่อง และติดกล้องเอาไว้จับภาพของการกดหมายเลขบัตร และอุปกรณ์ตัวที่สอง ถูกติดตั้งเข้าไปที่ช่องสอดบัตร เพื่ออ่านข้อมูลจากบัตรเอทีเอ็ม ทางเจ้าหน้าที่จึงได้แกะและเก็บไว้เป็นหลักฐาน
พ.ต.ต.คทาวุฒิ หงษ์หนึ่ง สวป.สภ.เมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนได้รับแจ้งทางเจ้าหน้าที่ ของทางธนาคารที่มาทำความสะอาดตู้เอทีเอ็มว่า พบเห็นอุปกรณ์แปลกปลอมมาติดตั้งที่ตู้ คิดว่าคงจะเป็นแก๊งปลอมบัตรมาติดตั้งไว้ หลังจากที่มาตรวจสอบก็พบว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของแก๊งสกิมเมอร์ ที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปทำบัตรเครดิต หรือ เอทีเอ็มปลอม เพื่อนำไปกดเงิน

เบื้องต้น ก็ได้สอบถามข้อมูลโดยรอบจากร้านค้าที่อยู่ใกล้เคียง และในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นแล้ว ก็ทราบว่า ร้านขายของที่ระลึกที่ติดตั้งตู้เอทีเอ็มนั้นจะปิดช่วงค่ำ ซึ่งคนร้ายคงจะอาศัยช่วงกลางคืนมาติดตั้งเอาไว้หลังจากร้านปิด เพราะการติดตั้งต้องใช้เวลานานพอสมควร ส่วนภาพจากกล้องวงจรปิดของเซเว่น ขณะนี้กำลังประสานเพื่อขอภาพในห้วงดังกล่าวอยู่ เพื่อจะนำมาตรวจสอบว่าในบริเวณจุดที่ตู้เอทีเอ็มติดตั้งไว้นั้น มองเห็นหรือไม่ หากมองเห็นก็จะได้ภาพของผู้ต้องสงสัยด้วย ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบอยู่ ซึ่งหากตรวจพบก็จะได้เร่งหาตัวคนกระทำผิดมาดำเนินคดี

นอกจากนี้ ก็ได้ประสานทางธนาคารต่างๆ ให้ตรวจสอบตู้เอทีเอ็มของตนเองด้วย เผื่อว่าจะมีตู้ในสาขาอื่นๆ ถูกกระทำในลักษณะนี้อีก นอกจากนี้ ก็ได้ให้ทางเจ้าหน้าที่สายตรวจออกตรวจสอบตามตู้เอทีเอ็มในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมด้วยช่วยกัน หากตรวจพบตู้ไหนเพิ่ม ก็จะได้ดำเนินการถอดอุปกรณ์ดังกล่าวออก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการ

ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบนั้น ได้มีทางเจ้าหน้าที่วิศวกรที่ดูแลเกี่ยวกับระบบของตู้เอทีเอ็มของธนาคารดังกล่าว เดินทางมาตรวจสอบด้วย พร้อมกับได้ให้ข้อมูลว่า อุปกรณ์ที่คนร้ายนำมาติดตั้งนั้น จากการดูเบื้องต้นพบว่าเป็นอุปกรณ์รุ่นเก่า ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้จะใช้กับบัตรเครดิตรุ่นเก่า ที่เป็นแถบแม่เหล็ก ส่วนบัตรเครดิตรุ่นใหม่ จะใช้ไม่ได้ เพราะเป็นแบบฝังชิพ อย่างไรก็ตาม หลังจากทราบข้อมูลแล้ว ก็ได้แจ้งข้อมูลให้กับทางธนาคารได้ทราบและให้มีการตรวจสอบแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีก.


ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/960887

chusit

ธปท.สั่งแบงก์ตรวจสอบสาเหตุ 'สกิมมิ่ง' ลามอีกรอบ


ธปท.แจงปัญหาตู้เอทีเอ็มถูกคัดลอกรหัส หรือ สกิมมิ่ง รอบล่าสุด ปัญหาอยู่ในวงจำกัด สามารถตรวจจับได้เร็ว ย้ำแบงก์ดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ พร้อมเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง


นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีเหตุการณ์ ATM Skimming นั้น ธปท. ได้รับรายงานจากสถาบันการเงินแล้ว และกำชับให้มีการดูแลลูกค้าหากได้รับผลกระทบ รวมทั้งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธปท. ออกแนวปฏิบัติให้สถาบันการเงินต้องมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงของระบบ ATM โดยสถาบันการเงินต้องมีการติดตั้งระบบป้องกัน ตรวจจับและตรวจสภาพความเรียบร้อยของตู้ ATM อย่างรัดกุม ซึ่งปัญหา ATM skimming มีความเสียหายในวงจำกัดและสามารถตรวจจับได้เร็ว และปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากการใช้บัตรชิปการ์ดแทนแถบแม่เหล็ก

ที่มา : http://news.voicetv.co.th/business/505510.html

chusit

รวบแก๊งสกิมเมอร์จีน ติดอุปกรณ์ตู้เอทีเอ็มกทม.-เชียงใหม่

ตำรวจ สปพ.หรือ191 รวบแก๊งสกิมเมอร์จีน ได้3ผู้ต้องหา ติดตั้งอุปกรณ์โจรกรรมข้อมูลตู้เอทีเอ็ม กทม.-เชียงใหม่





เมื่อเวลา 14.00น. วันที่ 13 มิถุนายน ที่กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (บก.สปพ.หรือ191) พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบก.สปพ. พร้อมด้วย พ.ต.อ.นิธิธร จินตกานนท์ รอง ผบก.สปพ. พ.ต.อ.จักรเพชร เพชรพลอยนิล ผกก.สายตรวจ และ พ.ต.อ.กัมพล รัตนประทีป ผกก.สน.ห้วยขวาง ร่วมกันแถลงผลการจับกุม นายจง ฟู่ หัว (Mr.Zhong Fuhua) อายุ 31 ปี สัญชาติจีน นายหลิว หลี่ หมิง (Mr.Liu Liming) อายุ 40 ปี สัญชาติจีน และนายจู ว่าน หลง (Mr.Zhu Wanrong) อายุ 47 ปี สัญชาติจีน พร้อมของกลางเครื่องคัดลอกข้อมูลจากบัตรอิเล็กโทรนิกส์ จำนวน 3 ชิ้น , กล้องวีดีโอบันทึกภาพขนาดเล็ก จำนวน 5 ชิ้น , บัตรอิเล็คโทรนิกส์ จำนวน 10 ใบ , คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค จำนวน 2 เครื่อง , สายเชื่อมต่อข้อมูลสกิมเมอร์ จำนวน 7 สาย และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการกระทำความผิด ในข้อหา “ร่วมกันมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลง หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้หรือให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลง (ประมวลกฎหมายอาญา ม.269/2)
พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ 20.40 น. วันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจงานสายตรวจ 1 ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.ห้วยขวาง ทำการจับกุมตัว นายจง ฟู่ หัว ได้ที่บริเวณหน้าตู้เอทีเอ็มของธนาคารไทยพาณิชย์ ทางเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีห้างเซ็นทรัลพระราม 9 แขวงและเขตห้วยขวาง กทม. ขณะที่นายจง ฟู่ หัว กำลังเก็บอุปกรณ์เครื่องคัดลอกข้อมูล และกล้องวีดีโอขนาดเล็กออกไปจากตู้เอทีเอ็มดังกล่าว พร้อมของกลาง อุปกรณ์เครื่องคัดลอกข้อมูลจำนวน 1 ชิ้น กล้องวีดีโอขนาดเล็ก จำนวน 1 เครื่อง ที่ดัดแปลงไว้สำหรับติดกับตู้เอทีเอ็ม และบัตรอิเล็กโทรนิกส์อีก จำนวน 6 ใบ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ทำการสืบสวนขยายผล จนสามารถจับกุมตัวผู้ร่วมขบวนการที่เหลือได้คือนายหลิว หลี่ หมิง และ นายจู ว่าน หลงพร้อมกับของกลาง เป็นเครื่องคัดลอกข้อมูลบัตรอิเล็คโทรนิกส์ จำนวน 2 ชิ้น, กล้องวีดีโอขนาดเล็ก จำนวน 4 ตัว, สายเชื่อมต่ออุปกรณ์สกิมเมอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการกระทำความผิด อยู่ในกระเป๋าเดินทางของผู้ต้องหาขณะกำลังขึ้นรถแท๊กซี่เพื่อหลบหนี ที่บริเวณหน้าบริเวณหน้าอาคารไนซ์ แมนชั่น ซ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 20 แขวงและเขตห้วยขวาง กทม. นอกจากนี้มีผู้ต้องหาสามารถหลบหนีไปได้ 1 คน คือ นายซ่ง เลี่ยง หมิง (Mr.Zhong Lang Ming) สัญชาติจีน
จากการสอบสวน นายจง ฟู่ หัว ให้การรับสารภาพว่า ตนเดินทางเข้ามาที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยเดินทางเข้ามาพักอาศัยกับ นายจู ว่าน หลง ที่ไนซ์ แมนชั่น ห้อง 821 ซึ่งมีหน้าที่เดินเก็บเครื่องคัดลอกบัตรอิเล็คโทรนิกส์ และกล้องวีดีโอขนาดเล็ก ที่ติดตั้งไว้บริเวณตู้เอทีเอ็มที่เป็นเป้าหมาย แล้วนำไปเก็บไว้ที่ห้องพัก โดยจะมีนายซ่ง เลี่ยง หมิง ซึ่งหลบหนีไปได้เป็นคนชักชวน ส่วนนายหลิว หลี่ หมิงให้การว่า ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับนายซ่ง เลี่ยง หมิง มีหน้าที่นำอุปกรณ์ไปติดที่ตู้เอทีเอ็มที่เป็นเป้าหมาย ทั้งนี้นายซ่ง เลี่ยง หมิง มีพฤติกรรมเห็นหัวหน้าขบวนการ ส่วนนายจู ว่าน หลง ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เพียงแต่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยเท่านั้น โดยพักอยู่ห้องเดียวกับ นายจง ฟู่ หัว
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตรวจสอบหนังสือเดินทางของผู้ต้องหา พบว่าได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามา และอยู่ในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงได้ควบคุมตัวผู้ถูกจับทั้ง 3 คน พร้อมของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวน สน.ห้วยขวาง เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
ทั้งนี้จากการสอบสวนเพิ่มเติมทำให้ทราบว่า คนร้ายชาวจีนกลุ่มนี้ จะใช้อุปกรณ์และมีแผนประทุษกรรมในลักษณะเดียวกันทั้งหมดในการก่อเหตุ โดยมีหลักฐานเชื่อมโยงว่าคนร้ายกลุ่มนี้ ยังได้ก่อเหตุในลักษณะนี้อีกหลายจุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้น่าจะมีผู้ร่วมขบวนการรายอื่นๆ ที่ยังหลบหนีอยู่ ทั้งนี้ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อร่วมมือกันติดตามจับกุมกลุ่มคนร้ายแก๊งค์สกิมเมอร์ชาวจีน โดยเฉพาะ นายซ่ง เลี่ยง หมิง (Mr.Zhong Lang Ming) ที่กำลังหลบหนีอยู่ และจะได้ดำเนินการเพื่อขออนุมัติศาลออกหมายจับ และติดตามตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
ด้านนายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด การป้องกันอาชญากรรมทางการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากข้อมูล พบว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่มีการก่ออาชญากรรมในลักษณะดังกล่าวเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยกรณีนี้ถือว่ามีความเสียหายหนักที่สุด ทั้งเงินและชื่อเสียงของประเทศ ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ โดยหลังการจับกุม ยังไม่พบมูลค่าความเสียหาย เนื่องจากตำรวจสามารถจับกุมและยึดเครื่องสกิมเมอร์ (Skimmer) ได้ก่อนที่คนร้ายจะกลับจีน จากข้อมูล กลุ่มคนร้ายสามารถได้ข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์กว่า 200 ใบต่อวัน และสามารถทำได้ทุกธนาคาร ตัวเงินเกินหลัก 10 ล้านบาท และเมื่อได้ข้อมูลแล้ว สามารถนำไปกดเงินได้ทุกประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามขอประชาชนอย่าเป็นกังวล เจ้าหน้าที่ธนาคารจะทำการตรวจสอบข้อมูลการใช้เงิน หากพบว่าผิดปกติ จะระงับและตรวจสอบทันที หากเกิดความเสียหาย ธนาคารจะดูแลในส่วนนี้ให้ และแม้ว่าจะมีวิธีการป้องกันเบื้องต้น แบบใช้มือป้องเวลากดรหัส แต่คนร้ายก็ยังสามารถขโมยข้อมูลด้วยวิธีอื่นได้


ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/759286


chusit

รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไต้หวัน ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเชื่อมเบอร์ราชการไทยหลอกเหยื่อโอนเงิน 3 เดือนกวาด 10 ล้าน

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 12 ตุลาคม 2560 ที่กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค3 ต.จอหอ อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา พล.ต.ท.ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ รักษาการแทนผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3,พล.ต.ต.สุภากร คำสิงห์นอก รักษาการผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3 ได้ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหาแก๊งคอลเซนเตอร์ชาวจีนใต้หวัน จำนวน 3 คน ประกอบด้วยนาย HUNG WEI CHE อายุ 22 ปี ,นาย WU CHUNG CHE อายุ 22 ปี ,นาย HOU CHENG SHON อายุ 30 ปี ได้ขณะกำลังกดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ในห้างสรรพสินค้าพาลิโอ ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ</p>
<p>จากนั้นได้ขยายผลเข้าจับกุม นาย CHI CHI MIN อายุ 45 ปี ที่ถนนทางเข้าเขตอุตสาหกรรมสุรนารี ต.หนองบัวศาลา อ.เมืองนครราชสีมา พร้อมด้วยของกลางหลายรายการ เช่น บัตรกดเงินอิเลคทรอนิกส์ (ATM) จำนวน 13 ใบ เงินสดธนบัตรรัฐบาลไทย จำนวน 459,000 บาท ,สมุดบัญชีธนาคารต่างๆและสลิปโอนเงินผ่านธนาคารๆอีกรวม 15 รายการ และโทรศัพท์มือถือ จำนวน 8 เครื่อง ในข้อหาเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เครือข่ายขบวนการ (แก๊งคอลเซนเตอร์) โดยร่วมกันใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิ์ใช้เพื่อประโยชน์ในการรับสินค้า ค่าบริการ หรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด หรือใช้เบิกถอนเงินสดของผู้อื่นโดยมิชอบ

พฤติกรรมของแก๊งคอลเซนเตอร์ดังกล่าวนี้ เป็นการร่วมกันระหว่างชาวจีนใต้หวันกับชาวไทยที่ไปอาศัยอยู่ในประเทศใต้หวันจะร่วมกันใช้โทรศัพท์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงเชื่อมต่อกับหมายเลขหน่วยงานต่างๆในประเทศไทยที่สามารถโชว์เบอร์ให้เห็นว่าเป็นเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานเหล่านั้นจริง เช่น ปปง.,ปปช.ปปส.,ดีเอสไอ,ธนาคารต่างๆรวมถึงไปรษณีย์ไทยโดยให้คนไทยที่อยู่ในประเทศใต้หวันพูดข่มขู่ให้เหยื่อหลงเชื่อว่ามีสิ่งผิดกฏหมายหรือได้กระทำผิดกฏหมายจนเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินให้ โดยก่อนหน้านั้นแก๊งนี้จะไปว่าจ้างให้คนไทยในจังหวัดต่างๆเปิดบัญชีธนาคารไว้โดยให้ค่าจ้างรายละ 8,000 บาท จากนั้นจะให้ชาวจีนใต้หวันรับจ้างเดินทางเข้าประเทศไทยในนามนักท่องเที่ยวแล้วตระเวณกดเอทีเอ็มจากบัญชีดังกล่าวโอนเงินกลับประเทศไต้หวัน โดยจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3 พบว่าเงินที่ถูกโอนผ่านบัญชีที่หลอกจากเหยื่อจากหลายจังหวัดในประเทศไทยมีมากกว่า 10 ล้านบาทในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ตำรวจภูธรภาค 3 จึงขอแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอย่าตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซนเตอร์ดังกล่าวนี้อีกต่อไป

ที่มา  https://www.matichon.co.th/news/694117

chusit

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เหิมหนัก อ้างเป็น ปปส.ภาค 6 หลอกโอนเงินล้มคดี วันเดียวเจอ 3 ราย

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม  ที่สถานีตำรวจภูธรแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก ร้อยตำรวจเอกวีระชาติ ทองแก้ว ร้อยเวร ได้รับแจ้งความจากนางสาวปพิชญา ล้านคำ อายุ 46 ปี ชาวอ.แม่สอด จ.ตาก ว่า ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นตำรวจปราบปรามยาเสพติด.ภาค 6 หลอกให้โอนเงินจำนวน 94,895 บาท แลกกับการที่จะไม่ถูกดำเนินคดี ข้อหาส่งยาเสพติดหลัง แก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้าง ผู้ต้องหาที่จับตัวได้ให้การซัดทอดว่านางสาวปพิชญา เป็นผู้ส่งยาเสพติดให้ ส่วนรายที่ 2 แก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้าง เป็นหนี้บัตรเครดิต จำนวน กว่า 80,000 บาท ขอให้เปิดบัญชีใหม่ และขอเลขบัตรเอทีเอ็ม เพื่อปลดหนี้ หลงเชื่อสูญเงินไปกว่า 54,000 บาท ส่วนรายที่ 3 เป็นอดีตข้าราชการครู โดนหลอกในลักษณะเดียวกัน แต่ไหวตัวทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อ ไม่สูญเสียเงิน รวมความเสียหายกว่า 2 แสนบาท

นางสาวปพิชญา  กล่าวว่าว่า มีโทรศัพท์ที่อ้างว่า เป็นตำรวจปราบปรามยาเสพติด.ภาค 6 แจ้งว่า ตนเองได้ส่งพัสดุที่มียาเสพติดไปให้ผู้ต้องหารายหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้ถูกจับกุมตัว และได้ซัดทอดว่า ตนเองเป็นผู้ส่งยาเสพติดให้ และจะถูกอายัดเงินในบัญชีทั้งหมดเพื่อขยายผลทางคดี แต่ถ้าไม่อยากถูกอายัด และให้หลุดพ้นคดี ก็ให้โอนเงินทั้งหมดมาที่บัญชีเลขที่ 000-000-000 หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเสร็จเรียบร้อย และพบว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็จะโอนเงินคืนให้ในทันที ทำให้กลัว และหลงเชื่อ เพราะไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ จึงตัดสินใจโอนเงินไปให้เป็นจำนวนเงิน 94,895 บาท แลกกับการที่จะไม่ถูกดำเนินคดีข้อหาส่งยาเสพติด หลังจากนั้นก็ไปเล่าให้ญาตฟัง ญาติบอกโดนหลอกแล้ว ญาติเลยพามาแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน


นายสุรกาญ (นามสมมุติ) อายุ 55 ปี กล่าวว่า มีโทรศัพท์อ้างว่าเป็นตำรวจยศพันตำรวจเอกชื่อไพรัช เทพพานิช โทรมาหาบอกว่า ตนเองเป็นหนี้บัตรเครดิตจำนวนกว่า 80,000 บาท โดยใช้บัตรรูดซื้อสินค้าที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งตนเองก็บอกว่าไม่ได้ทำ ไม่รู้เรื่อง คนที่อ้างเป็นตำรวจเสนอว่า ถ้าตนเองไม่ได้ใช้บัตรรูดซื้อสินค้าจริง ก็ให้ทำตามขั้นตอนนี้ โดยให้ไปเปิดบัญชีใหม่ พร้อมกับบัตรเอทีเอ็ม และส่งมาให้ เพื่อจะได้ออกเอกสารรับรองให้ว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด แต่พอทำตามไปแล้ว มารู้อีกทีเงินในบัญชีกว่า 54,000 บาท ก็ไม่เหลือแล้ว

สื่อข่าวรายงานว่าส่วนผู้เสียหายรายที่ 3 เป็นอดีตข้าราชการครูบำนาญ ก็โดนถูกหลอกในลักษณเดียวกันกับเหยื่อรายที่ 2 แต่ก่อนจะโอนเงินได้โทรไปสอบถามเพื่อน ๆ และญาติๆ ซึ่งเพื่อน และญาติ ก็บอกว่าระวังจะเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกให้โอนเงิน จึงตัดสินใจไม่ได้โอนเงินให้ พร้อมกับเดินทางเข้ามาแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้ตำรวจหาตัวแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มาดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป

ที่มา:https://www.matichon.co.th/news/698988