• Welcome to เว็บบอร์ด ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5.
 

การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง/การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

เริ่มโดย chusit, 27 กันยายน 2013 14:02

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

chusit

การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง, การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547









พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 [idl]http://www.scdc5.forensic.police.go.th/Thaipolice Act B.E.2547.pdf[/idl]



chusit


โทษทางวินัย : การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง/การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง



ม.82(1)-(5)  กรณี การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง

ม.82(6)-(7)  กรณี การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง




chusit

แนวทางการพิจารณาและมาตรฐานการลงโทษวินัยอย่างไม่ร้ายแรง















































chusit

คำสั่ง ตร.ที่ 436/2548 ลง 20  มิ.ย. 2548

เรื่อง มอบอำนาจการดำเนินการทางวินัย การสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการ
และกำหนดแนวทางปฏิบัติ













ดาวน์โหลด

คำสั่ง ตร.ที่ 436/2548 ลง 20  มิ.ย. 2548 เรื่อง มอบอำนาจการดำเนินการทางวินัย การสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการ
และกำหนดแนวทางปฏิบัติ



chusit

#4
แบบบันทึกว่ากล่าวตักเตือน

(บันทึกว่ากล่าวตักเตือน กรณีกระทำผิดวินัยภายหลัง พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ใช้บังคับ)




..................................................................................


***การว่ากล่าวตักเตือน  เป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงคือ ได้รับโทษภาคทัณฑ์แล้วมีเหตุอันควรงดโทษ โดยให้ว่ากล่าวตักเตือน หรือทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ ตามนัย ม.89 วรรค 3 ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547  



chusit



กฏ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง 2556






chusit

กฎ ก.ตร.ว่าด้วยกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ.2547






ดาวน์โหลด  1. [idl]http://www.scdc5.forensic.police.go.th/faultexplicit2547.pdf[/idl]  หรือ

              2.  กฎ ก.ตร.ว่าด้วยกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ.2547

*************************


กรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง  ปรากฏอยู่ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 87 วรรคสาม

ที่บัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย ว่าจะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสืบสวนหรือสอบสวนก็ได้





chusit

ผังสรุปขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย
ตาม กฏ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง 2556


ภาพที่มา : กองวินัย

chusit

ผังสรุปขั้นตอน การดำเนินการทางวินัย การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง




chusit

พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๗๘  การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ได้แก่ การไม่รักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อปฏิบัติและข้อห้าม ดังต่อไปนี้


(๑)   ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี จรรยาบรรณของตำรวจ และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหายแก่ราชการ
(๒)   ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
(๓)   ต้องรักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ ผู้น้อย
(๔)   ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
(๕)   ต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
(๖)   ต้องรักษาความลับของทางราชการ
(๗)   ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
(๘)   ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมและให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการ หรือในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย โดยห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการหรือในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
(๙)   ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เพื่อให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
(๑๐)   ต้องไม่กระทำการอันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีระหว่างข้าราชการตำรวจ
(๑๑)   ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
(๑๒)   ต้องไม่ใช้กิริยาวาจาหรือประพฤติตนในลักษณะที่ไม่สมควร
(๑๓)   ต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
(๑๔)   ต้องไม่กระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการบังคับผู้บังคับบัญชา เป็นทางให้เสียระเบียบแบบแผนของตำรวจ
(๑๕)   ต้องไม่กระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ หรือทำให้เสียระเบียบแบบของตำรวจ
(๑๖)   ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์ อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
(๑๗) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๑๘) กระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.

พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๗๙  การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้แก่การกระทำดังต่อไปนี้

(๑)   ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้
(๒)   ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันควร หรือโดยพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(๓)   เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการหรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๔)   กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)   กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๖)   กระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆ  รวมทั้งการกระทำผิดตามมาตรา ๗๘ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๗)   กระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.

chusit

หลักเกณฑ์ว่าการกระทำผิดอย่างใดเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๗๙(๕)
















chusit


ลงโทษไปแล้ว จะลงโทษในกรณีเดียวกันได้อีกหรือไม่



ครั้งนี้ “ก.พ.ค. ขอบอก” มีตัวอย่างคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. กรณีที่ผู้อุทธรณ์ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงไปแล้ว  และต่อมาจะสั่งเพิ่มโทษเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีความผิดที่ได้กระทำอย่างเดียวกันนี้อีกได้หรือไม่ ซึ่งมีรายละเอียดและ ก.พ.ค. จะมีคำวินิจฉัยเรื่องนี้อย่างไร นั้น  มาลองติดตามกัน

             เรื่องนี้ผู้อุทธรณ์เดิมรับราชการอยู่ที่หน่วยงานแห่งหนึ่ง ถูกอธิบดีสั่งลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 3 เดือน ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ และฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ตามมาตรา 85 วรรคหนึ่ง และมาตรา 98 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มีการรายงานการดำเนินการทางวินัยเรื่องนี้ไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง เพื่อพิจารณา ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติการณ์ของผู้อุทธรณ์ถือเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบของทางราชการ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง จึงมีมติให้กรมดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงกับผู้อุทธรณ์ อธิบดีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงกับผู้อุทธรณ์ตามกฎหมาย  คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงได้รายงานการสอบสวนไปยังอธิบดี ซึ่งอธิบดีเห็นว่าพฤติการณ์ของผู้อุทธรณ์เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจึงเสนอเรื่องต่อ อ.ก.พ. กรม เพื่อพิจารณา ซึ่ง อ.ก.พ. กรม พิจารณาเรื่องนี้แล้วเห็นว่าพฤติการณ์ของผู้อุทธรณ์เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 85 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อธิบดีโดยมติ อ.ก.พ. กรมดังกล่าว จึงมีคำสั่งลงโทษไล่ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการ  โดยที่ไม่มีการยกเลิกคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแต่อย่างใด  ผู้อุทธรณ์จึงได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวต่อ ก.พ.ค.

           ก.พ.ค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดำเนินการทางวินัย  และวรรคสอง บัญญัติว่า โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้ (1) ภาคทันฑ์ (2) ตัดเงินเดือน (3) ลดเงินเดือน (4) ปลดออก (5) ไล่ออก  และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน บัญญัติว่า เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษหรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่ และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. สำหรับเรื่องนี้เมื่อผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัย และได้รับโทษทางวินัย กล่าวคือ ถูกลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 3 เดือน ไปแล้ว การที่ต่อมามีคำสั่งลงโทษไล่ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการในเรื่องเดียวกันนี้อีกโดยไม่ได้ยกเลิกคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนผู้อุทธรณ์เสียก่อน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการพิจารณาเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ เพราะถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 105 กรณีจึงเป็นการลงโทษผู้อุทธรณ์สองครั้ง ในเรื่องเดียวกัน คำสั่งลงโทษไล่ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  จึงวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการให้เป็นการถูกต้องต่อไป

             เรื่องนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้ส่วนราชการอาจจะต้องใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นในการออกคำสั่งลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัย  โดยเฉพาะการออกคำสั่งเพิ่มโทษดังกล่าว ซึ่งต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่าข้าราชการที่จะถูกเพิ่มโทษนั้น มีกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัยในความผิดอย่างเดียวกันกับความผิดที่จะถูกเพิ่มโทษหรือไม่  ถ้ามีก็จะต้องยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมเสียก่อน มิฉะนั้นอาจจะขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปที่ห้ามมิให้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่าหนึ่งครั้งสำหรับความผิดที่บุคคลนั้นได้กระทำเพียงครั้งเดียว (Double Jeopardy) ทั้งยังทำให้ต้องเสียเวลาในการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งอีกด้วยนะ..ขอบอก...

ผู้เขียน : จุฑาพิชญ์  สถิรวิสาลกิจ

ขอขอบคุณผู้เขียน
ที่มา : https://mspc.ocsc.go.th/2019/06/Repeatedpunishment


chusit

รายงานการสืบสวน/รายงานการสอบสวน ไม่ใช่รายงานการปฏิบัติราชการปกติทั่วไป
ไม่ต้องรายงานผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น


- รายงานการสืบสวนข้อเท็จจริง  ต้องเสนอรายงานผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สั่งให้สืบสวน  ตาม กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2556 ข้อ  32





- รายงานการสอบสวน ต้องเสนอรายงานผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2547 ข้อ 32




- ไม่เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

มาตรา 78  การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ได้แก่ การไม่รักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อปฏิบัติและข้อห้าม ดังต่อไปนี้

(5)   ต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว