เว็บบอร์ด ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5

หมวดหมู่ทั่วไป => เรื่องทั่วไป => หัวข้อที่ตั้งโดย: chusit เมื่อ 11 มกราคม 2012 11:30

ชื่อ: แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต้มเละ 'รศ.' สูญเงินร่วม30ล้าน
โดย: chusit เมื่อ 11 มกราคม 2012 11:30

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต้มเละ 'รศ.' สูญเงินร่วม30ล้าน


เลขาฯ ปปง.เต้นเตรียมออกหมายจับ หลัง ขรก.บำนาญเสียท่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ปปง.ลวงเหยื่อมีชื่อในบัญชีเครือข่ายฟอกเงินของแก๊งยาเสพติด ต้องโอนเงินไปตรวจสอบกับแบงก์ชาติทำสูญกว่า 30 ล้าน...

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 10 ม.ค. ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กล่าวถึงความคืบหน้าในการสอบสวนเพื่อหาที่มาเงิน จำนวน 18.1 ล้าน ที่ยึดคืนมาได้จากแก๊งคนร้ายที่ปล้นบ้าน นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมว่า ขณะนี้ทาง ปปง. กำลังดำเนินการสรุปที่มาที่ไปของเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาธุรกรรม ที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 ม.ค.นี้ ส่วนการเรียกบริษัทก่อสร้างที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนนี้มาสอบ ปากคำ ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

ต่อมา วันเดียวกัน รองศาสตราจารย์ นางน้อย (นามสมมติ) อายุ 68 ปี ข้าราชการบำนาญ เข้าพบ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาการเลขาธิการ ปปง.ให้ปากคำ หลังถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ปปง.โทรศัพท์หลอกให้โอนเงินผ่านตู้ฝากเงินสดเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ 75 บัญชี จำนวน 269 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 26,750,185 บาท เหตุเกิดระหว่างวันที่ 21 ธ.ค.54-4 ม.ค.55 โดยหลอกว่า มีชื่ออยู่ในบัญชีเครือข่ายฟอกเงินของแก๊งยาเสพติด ต้องโอนเงินนำไปตรวจสอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย นางน้อย กล่าวลำดับเหตุการณ์ว่า ก่อนเกิดเหตุ เมื่อวันพุธที่ 21 ธ.ค.2554 เวลาประมาณ 09.00 น. ตนได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทยว่า ตนเป็นหนี้บัตรเครดิตจำนวนหนึ่ง แต่ตนเอะใจว่า ปกติบัตรเครดิตของตนจะตัดรอบบัญชีทุกวันที่ 19 ของเดือน และตนได้จ่ายเงินค่าบัตรเครดิตเงินเข้าบัญชีแล้วตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. คนร้ายคนแรกก็ทิ้งท้ายไว้ว่า หากมีปัญหาให้โทรไปสอบถามตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ ตนจึงโทรศัพท์ไปซักถามพร้อมชี้แจงว่า ปกติธนาคารกสิกรจะส่งสเตจเมนท์การใช้บัตรเครดิตมาที่บ้าน อีกทั้งตนได้จ่ายเงินค่าบัตรเครดิตไปแล้วตั้งวันที่ 19 ธ.ค. ทำไมวันที่ 21 ธ.ค. มีการทวงอีก และยอดเงินก็ต่างกันด้วย คนร้ายจึงโอนสายไปให้อีกคนคุย โดยอ้างว่าเป็นตำรวจยศ ร.ต.อ.บอกว่า มีคนเอาชื่อตนมาเปิดบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย สาขาพระราม 3 ตนจึงแย้งว่าบ้านตนอยู่คนละโซน ไม่ได้ไปทำบัตร

ผู้เสียหายเหยื่อ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กล่าวอีกว่า คนร้ายยังบอกตนว่า มีการใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าไปแล้ว 2 รายการ รวม 3 หมื่นกว่าบาท คนร้ายยังถามตนต่อว่า รู้จักคนที่ชื่อสุจิตราหรือไม่ ตนบอกว่าไม่รู้จัก ทำไมเหรอ คนร้ายจึงบอกว่าผู้หญิงที่ชื่อสุจิตรา ถูกจับที่จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2553 เดิมเป็นเจ้าหน้าที่กสิกรไทย แต่ถูกไล่ออกเพราะเอาความลับของธนาคารไปขาย ก่อนผันมาเป็นผู้ค้ายาเสพติดจนถูกจับได้ และบังเอิญมีชื่อตนอยู่ในบัญชีฟอกเงิน เป็นจุดที่ทำให้ตนตกใจกลัวมาก และบอกว่าจะมีคนมาช่วย ให้คุยกับอีกสาย โดยเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงาน ปปง.โดยคนในสายแอบอ้างว่าเป็นท่านสีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาการเลขาฯ ปปง.บอกว่า จะช่วยตน ขอให้ความร่วมมือและเก็บไว้เป็นความลับ ก่อนซักถามว่า มีสมุดบัญชีธนาคารที่ไหนบ้าง ตนบอกว่า จะฝากเงินที่สหกรณ์ คนร้ายพยายามถามว่ามีสมุดเงินฝากกี่เล่ม ยอดเงินจำนวนเท่าไหร่ พยายามให้ตนไปถอนเงินจากสหกรณ์ เพื่อนำไปฝากแบงก์ เพื่อเคลียร์บัญชีฟอกเงินให้

นางน้อย กล่าวต่อว่า ตนจึงพยายามถามว่า ทำไมต้องทำอย่างนี้ คนร้ายอ้างว่า รู้ไหมรัฐบาลไทยได้ผลิตแบงก์พันปลอม มากถึง 2-3 ล้านฉบับ เพื่อมาล่อซื้อยาบ้า จึงต้องมาตรวจสอบ ตนจึงหลงเชื่อว่าเป็นกระบวนที่รัฐจะตรวจสอบ ทุกวันระหว่างวันที่ 21 ธ.ค.54- 4 ม.ค.55 คนร้ายจะมีคำสั่งให้ตนเอาเงินไปโอนบัญชีของธนาคารกรุงเทพผ่านเครื่องฝากเงิน อัตโนมัติที่คนร้ายให้มา โดยมีชื่อเจ้าของบัญชีชัดเจนทั้งชายหญิง ซึ่งตนก็ใช้เครื่องฝากเงินอัตโนมัติแถวบ้าน พร้อมกำชับตนห้ามนำเงินไปฝากที่แบงก์อื่น นอกจากนี้ตนไม่ทราบว่าโทรศัพท์มือถือของตนในช่วงนั้น ทำไมไม่สามารถโทรศัพท์ออกไปไหนได้ ทำให้ติดต่อญาติเพื่อปรึกษาไม่ได้ เพราะตนอยู่บ้านคนเดียว ทุกวันที่คนร้ายให้ตนไปโอนเงิน จะให้หมายเลขโทรศัพท์มือถือของคนร้ายไว้ โดยโทรศัพท์กำกับตนทุกขั้นตอน ตนพยายามบอกว่า หอบเงินไปจำนวนมากเป็นอันตราย คนร้ายบอกว่า ไม่ต้องกลัว มีตำรวจนอกเครื่องแบบตามอารักขาอยู่ห่างๆ ทำให้ตนตายใจ ตอนหลังบอกว่าตนเป็นคนที่ช่วยเหลือประเทศชาติในการจับกุมคนร้าย โดยบอกว่า จับคนร้ายได้พร้อมยาบ้าและเงินในบัญชี จะให้โล่ชื่นชม ทำให้ตนรู้สึกว่า ตนเองช่วยประเทศชาติ จึงขอให้เป็นอุทาหรณ์และไม่คิดว่าตนจะโดน สิ่งที่ตนกลัวที่สุดจนถูกหลอก คือ ตกอยู่ในบัญชีผู้ฟอกเงิน จนสูญเงินที่เก็บสะสมมาเกือบ 40 ปี ตั้งแต่ยังสาว

พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาการเลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า หลังจากผู้เสียหายมาพบตนเมื่อวันจันทร์ เพื่อขอเงินคืน จากการสอบปากคำจนมั่นใจว่า ผู้เสียหายถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง จึงรีบประสานธนาคารกรุงเทพ เพื่ออายัดเงินในบัญชีเครือข่ายของคนร้ายที่ให้ผู้เสียหายโอนเงินเข้า 75 บัญชี จำนวน 269 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 26,750,185 บาท ทันที โดยตู้ฝากเงินอัตโนมัติสามารถรับฝากเงินได้ครั้งละ 1 แสนบาท ทำให้ผู้เสียหายต้องฝากกว่าสองร้อยครั้ง ซึ่งวันแรกพบว่า ผู้เสียหายโอนเงินให้คนร้ายวันเดียว 3 ล้านบาท เรื่องนี้ธนาคารต้องตรวจสอบผู้ที่มาเปิดบัญชี ต้องรายงานการทำธุรกรรมต้องสงสัย ตนจะให้ชี้แจงว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะตรวจสอบกับธนาคารว่า ทำไมคนร้ายถึงรู้ข้อมูลของผู้เสียหาย

รักษาการเลขา ปปง.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตนจะประสาน กสทช.ว่า เหตุใดโทรศัพท์ผู้เสียหายโทรออกไปหาคนอื่นไม่ได้ และทำไมคนร้ายสวมหมายเลขโทรศัพท์ของ ปปง. โทรไปหาผู้เสียหายได้ ส่วนแนวทางการสอบสวน ได้นำผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. เพื่อร่วมกันสืบสวนสอบสวนติดตามจับตัวแก๊งคนร้าย ส่วนการติดตามเงินของผู้เสียหายคืน ตนได้สั่งอายัดบัญชีธนาคารของคนร้ายทั้ง 75 บัญชี ซึ่งเป็นต่างบุคคล กระจายอยู่ทั่วประเทศ เบื้องต้นพบว่า บางบัญชีมีเงินเหลือศูนย์บาท บางบัญชีเหลือ 6 หมื่นบาท หรือ 9 หมื่นบาท โดยมียอดเงินเหลือในบัญชีรวมทั้งหมดประมาณ 9 แสนบาท หลังผู้เสียหายโอนเงิน คนร้ายก็กดเงินออกไปกระจายทั้งประเทศ ถือเป็นแก๊งคนร้ายที่กว้างขวางมาก จะพยายามติดตามยึดอายัดทรัพย์กลับมาคืนให้ผู้เสียหาย นอกจากนี้ตนรวบรวมพยานหลักฐานออกหมายจับเจ้าของบัญชีธนาคารทั้ง 75 คน ที่ให้ความร่วมมือกับคนร้ายในการเปิดบัญชี ส่วนข้อหา จะหารือกับตำรวจกองปราบปรามอีกครั้ง.


ไทยรัฐออนไลน์
11 มกราคม 2555, 01:46 น.

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/region/229508

ชื่อ: ปปง.อายัดเงินแก๊งคอลเซ็นเตอร์-แสบอ้างตัวเป็นบิ๊กปปง. ตุ๋นเหยื่อ
โดย: chusit เมื่อ 09 ตุลาคม 2012 14:09
ปปง.อายัดเงินแก๊งคอลเซ็นเตอร์-แสบอ้างตัวเป็นบิ๊กปปง. ตุ๋นเหยื่อ


เมื่อวันที่ 8 ต.ค  ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า พ.ต.อ. สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) แถลงว่า หลังจากกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงินมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ปปง.ยังคงได้รับการร้องเรียนทาง โทรศัพท์จากประชาชนเฉลี่ยวันละประมาณ 10 รายว่า มีผู้ใช้หมายเลขโทรศัพท์ของปปง. แอบอ้างชื่อเลขาป.ป.ง. หรือเจ้าหน้าที่ของป.ป.ง. รวมทั้งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอหลอกลวงเหยื่อโอนเงินให้  โดยล่าสุดพบว่ามีแก๊งคอนเซ็นเตอร์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเครือข่ายเดิม ซึ่งได้ถูกจับดำเนินคดีไปแล้ว และหยุดก่อเหตุไปพักหนึ่งได้เทรนคนใหม่ขึ้นมาเพื่อทำการหลอกลวงเหยื่อราย ใหม่ในพื้นที่ภาคกลาง จากเดิมที่เป็นเหยื่อในพื้นที่ภาคเหนือ

พ.ต.อ. สีหนาท กล่าวว่า จากการรวบรวมข้อมูลหลักฐานและสอบปากคำผู้เสียหายที่เข้ามาร้องเรียนกับปปง. จำนวนนี้มี 4 รายได้โอนเงินไปให้แก๊งคอนเซ็นเตอร์รวมแล้วกว่า 1 ล้านบาทและเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนปปง.จึงใช้อำนาจ ตามกฎหมายฟอกเงินทำการอายัดบัญชีธนาคารที่ คนร้ายเปิดไว้รองรับเงินที่หลอกลวงประชาชนจำนวน 10 บัญชีดังมีรายชื่อต่อไปนี้คือ


นางสาวชลิดา ใหม่เอี่ยมธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขา ถนนสามัคคี ประชานิเวศน์ หมายเลขบัญชี061-0-47357-1

นายวันชัย ตังศรีวงศ์  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขา วงศ์สว่าง หมายเลขบัญชี194-0-79021-3

นายอิทธิพล ภาคีธรรม  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขานวนคร หมายเลขบัญชี 875-0-33424-8

นายณัฐวัฒน์ พัฒนสุนทร  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาบางปะกอกหมายเลขบัญชี 043-0-30118-4

นายธีรเดช เลาหมู่  ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซี ฉะเชิงเทรา หมายเลขบัญชี 662-0-43454-5

นายวีรพงษ์ ศรีสมพัด ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) สาขาสำโรง หมายเลขบัญชี 122-7-35669-6

นางสาวสุนิสา เพชรคุ้ม ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาห้าแยกปากเกร็ดหมายเลขบัญชี 207-4-23081-0 นางสาวอาริยา สังสูงเนิน .ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาขอนแก่น

ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:00 น.  

ที่มา :  http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME9UYzJOVEkzTVE9PQ==&catid=01
ชื่อ: Re: ปปง.ออกมาตรการโค่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์
โดย: chusit เมื่อ 09 ตุลาคม 2012 14:18
สตม.จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยุโรปและแก๊งเงินดำ

(http://upic.me/i/yg/134621.jpg) (http://upic.me/show/39942193)

(http://upic.me/i/tq/lo10a.jpg) (http://upic.me/show/39942198)

(http://upic.me/i/os/f0121.jpg) (http://upic.me/show/39942200)

(http://upic.me/i/j0/w0h72.jpg) (http://upic.me/show/39942206)

ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง โชว์ผลงาน บุกจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์สัญชาติยุโรป ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการตุ๋นเงิน อีกรายรวบแก๊งเงินดำ พร้อม 2 ผู้ต้องหาแอฟริกา

วันนี้( 6 ก.ค.) ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พล.ต.ต.ปรีชา ธิมามนตรี ผบก.สส.สตม. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน แถลงจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พร้อมของกลางโทรศัพท์ 16 เครื่อง คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ปริ๊นเตอร์ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โดยสามารถจับกุมได้ที่ห้องพักเลขที่ 19/132 อาคารสุขุมวิท สวีท ซอยสุขุมวิท 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา

พล.ต.ต.ปรีชา กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบทราบว่า ได้มีแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ชาวยุโรป หลอกลวงผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ให้ร่วมลงทุนซื้อขายหุ้น  โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มนี้อ้างตัวเป็นนายหน้าหรือโบรกเกอร์ มีการลักลอบใช้ห้องพักของอาคารดังกล่าวใน ซอยสุขุมวิทเป็นฐานปฎิบัติการ  จึงได้วางกำลังเฝ้าสังเกตการณ์ก็พบว่ากลุ่มคนร้ายได้เลือกเวลาในการทำงาน ตั้งแต่เวลา 13.00-00.00 น.ของทุกวัน เพื่อให้เป็นไปตามเวลากลางวันในโซนแถบยุโรบและอเมริกา หลังจากเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าสังเกตการณ์จนเป็นที่แน่ชัด จึงได้นำกำลังพร้อมหมายค้นของศาลอาญากรุงเทพใต้ที่ ค.202/2555 ลงวันที่5 ก.ค.  เข้าค้นห้องพักดังกล่าว ก็พบผู้ต้องหาซึ่งเป็นชาวต่างชาติจำนวน 15 คน ประกอบไปด้วยสัญชาติอังกฤษ 6 คน ฟิลิปปินส์ 3 คน อเมริกา  2 คน โรมาเนีย 2 คน เยอรมัน 1คน และ แอฟฟริกาใต้  1 คน พร้อมของกลางดังกล่าวอยู่ในห้องพักจึงควบคุมตัวมาทำการสอบปากคำ

จากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพว่าได้มีการโทรศัพท์ไปหา เหยื่อผู้เสียหาย โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนหรือโบรกเกอร์ หว่านล้อมให้เหยื่อร่วมลงทุน ซื้อหุ้น ซึ่งอาจจะทำกำไรได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งหลอกว่าให้นำเงินมาเพื่อช่วยเหลือประเทศในแถบประเทศโลกที่สาม เมื่อเหยื่อลงเชื่อทำการโอนเงินมาก็จะให้โอนไปยังบัญชีของธนาคารในประเทศ สวิสแลนด์เพื่อสร้างความเชื่อถือ ก่อนที่จะโอนเงินไปยังประเทษมาเลเชียก่อนจะโอนกลับมายังประเทศไทย ซึ่งแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์นี้จะได้ส่วนแบ่งเป็นเงิน25 เปอร์เซ็นต์ของเงินทั้งหมด  โดยมีเหยื่อที่หลงเชื่อส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปและเสียหาย 8 ล้านเหรียญยูโรหรือประมาณ 320 ล้านบาท

อีกรายสามารถจับกุมนายเดวิส เอ แมค ไลเน่ อายุ 44 ปี สัญชาติ ไลบีเรีย และนายอโบบาก้าร์ เดียโล  อายุ 28 ปี สัญชาติ กินี  สองผู้ต้องหาแก๊งเงินดำ พร้อมของกลางน้ำยาสารเคมี 1 ขวด กระดาษสีดำตัดขนาดเท่ากับธนบัตรดอลล่าห์สหรัฐจำนวนหนึ่ง และ ตู้เซฟ 1 ตู้ จับกุมได้ที่บริเวณโรงแรมแห่งหนึ่ง ถนนสีลม และที่ร้านพิซซ่า ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ถนนพระราม 1 แขวงและเขตปทุมวันเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหาทั้งหมดว่า อยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุดลง และเบิกถอนการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร พร้อมทั้งผลักดันออกนอกประเทศและขออนุมัติเป็นบุคคลต้องห้ามเข้าประเทศต่อไป



เดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2555 เวลา 16:26 น.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/crime/134621
ชื่อ: แก๊งคอลฯตุ๋นแนวใหม่'สแกรมเมล'ดูดข้อมูล
โดย: chusit เมื่อ 09 ตุลาคม 2012 14:22
แก๊งคอลฯตุ๋นแนวใหม่'สแกรมเมล'ดูดข้อมูล

ตำรวจจีนส่งตัวผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวไทย 11 คน กลับมาดำเนินคดีในไทย หลังตำรวจ ปอศ.ประสานให้จับกุมได้ที่เมืองฉางอัน มณฑลกวางตุ้ง ผู้ต้องหาอ้างถูกหลอกไปทำงานเป็นคนดูกรุ๊ปทัวร์คนไทยที่จีน เมื่อไปถึงกลับถูกยึดหนังสือเดินทาง บังคับให้โทรศัพท์กลับมาหลอกเงินคนไทย เตือนระวังโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ “สแกรมเมล” ห้ามซี้ซั้วรับโทรศัพท์เบอร์ที่ไม่รู้จัก ไม่งั้นอาจถูกดูดข้อมูลธนาคารได้ ด้าน ปปง.ตีปี๊บแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่อ้างชื่อ ปปง.ข่มขู่เหยื่อยังไม่หมด วอนประชาชนอย่าหลงเชื่อ

ตำรวจ ปอศ.ร่วมกับตำรวจจีนจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายนี้ เปิดเผยขึ้นเมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 8 ต.ค. พล.ต.ต.สุรพล หอมชื่นชม ผบก.ปอศ พ.ต.อ.กิตติ สำเภาทอง รอง ผบก.ปอศ. และ พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รอง ผบก.ปอศ. แถลงข่าวตำรวจ บก.ปอศ. ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาว ไทย 11 คน ส่งกลับมาดำเนินคดีที่ประเทศไทยประกอบด้วย นายสุริยงค์ ปานแย้ม อายุ 28 ปี นางสุวพร เรียบเรียง อายุ 39 ปี นายเอกพงษ์ น้อยชนะ อายุ 22 ปี น.ส.สุวิมล สัสดี อายุ 30 ปี น.ส.พัฒนา ไชยชาติ อายุ 38 ปี นายจิตติ มูลมีศรี อายุ 18 ปี น.ส.พรธิดา สดศรี อายุ 26 ปี นายชาตรี เจริญการ อายุ 18 ปี นายธวัช ลามอ อายุ 42 ปี นางพรกลม ลามอ อายุ 43 ปี และนายสรธัญ ผจงจิตวรเพียร อายุ 41 ปี

พล.ต.ต.สุรพล หอมชื่นชม ผบก.ปอศ.กล่าวว่า การส่งตัวผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลับมาดำเนิน คดีในประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการประสานงานระหว่างตำรวจ ปอศ.และตำรวจจีน หลังมีผู้เสียหายชาวไทย 4 รายถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์แก๊งนี้หลอกลวงจนสูญเงินไปราว 4 ล้านบาท เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปอศ.จึงออกหมายจับผู้กระทำผิดไว้ 24 คน เหตุเกิดเมื่อปี 2553 ต่อมาเมื่อวันที่ 8 เม.ย.53 เจ้าหน้าที่ตำรวจจีนจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์แก๊งนี้ได้ที่อาคารบี ชั้น 3 ตึกเป่า เหลียง จุย เมืองฉางอัน เขตตงก่วน มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน จับกุมผู้กระทำความผิดได้ 15 คน เป็นคนไทย 13 คน ไต้หวัน 2 คน ทั้งหมดถูกจำคุกที่ประเทศจีนมาแล้ว 2 ปี เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ทางการจีนส่งตัวกลับมาให้ประเทศไทยดำเนินคดีตามหมายจับศาลอาญา ข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน

ด้าน พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รอง ผบก.ปอศ. กล่าวว่า ผู้ต้องหาคนไทยที่ทำงานกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ถูกจับส่วนใหญ่ ถูกหัวหน้าแก๊งยึดหนังสือเดินทางและขังตัวไว้ในบ้านไม่ให้ออกไปไหน ตอนนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ตำรวจได้รับแจ้งในปี 2555 ลดลงเหลือ 28 ราย พบว่าลดลงมาก เนื่องจากเราดำเนินการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง ตนได้รับการเตือนว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ชื่อ “โปรแกรมสแกรมเมล” โดยคนร้ายจะโทร.เข้ามาที่เบอร์โทรศัพท์ของเหยื่อ เบอร์โทรศัพท์ที่แสดงที่เครื่องจะขึ้นต้นด้วย +331 และ +337 นำหน้าแล้ววางสาย หากเหยื่อหลงกลโทร.กลับไปโปรแกรมนี้จะดึงข้อมูลทางการเงินจากโทรศัพท์ของ เหยื่อได้ภายใน 3 วินาที จึงขอฝากเตือนประชาชนอย่ารับโทรศัพท์เบอร์ที่ไม่คุ้นเคยเพื่อเป็นการป้องกัน

ส่วนผู้ต้องหาทั้ง 11 คนให้การไปในทำนองเดียวกันว่า ก่อนเดินทางไปทำงานที่ประเทศจีน ได้ข้อมูลแบบปากต่อปากจากคนรู้จักว่าประเทศจีนต้องการรับคนไทยไปทำงานเป็นคน ดูแลกรุ๊ปทัวร์คนไทยที่ไปเที่ยวประเทศจีน จึงไปติดต่อนายหน้าที่แจ้งไว้ หลังจากนั้นนายหน้าพาเดินทางไปที่ประเทศจีนโดยบางคนไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่บางคนต้องออกค่าใช้จ่ายเอง เมื่อไปถึงปรากฏว่าถูกยึดหนังสือเดินทางและขังไว้ในบ้านไม่ให้ออกไปไหน และสั่งให้ทำงานโทรศัพท์กลับมาหลอกลวงลูกค้าที่ประเทศไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่เชื่อคำให้การทั้งหมด ต้องสอบสวนอย่างละเอียดอีกครั้ง หลังแถลงข่าวควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 11 คนส่งพนักงานสอบสวน ปอศ.ดำเนินคดี โดยวันที่ 9 ต.ค. จะนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดไปฝากขังที่ศาลอาญา รัชดาฯต่อไป

ที่ ปปง. พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง.แถลงความคืบหน้าการติดตามอายัดทรัพย์สินแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ว่า สืบเนื่องจากสำนักงาน ปปง.ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนหลายรายว่ามีผู้ใช้หมายเลขโทรศัพท์ของ ปปง.หลอกลวงเพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินทั้งสิ้น 100 ราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 50 ล้านบาท ที่ผ่านมามีการจับกุมผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดำเนินคดีอาญา ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกและให้ร่วมกันคืนเงินให้กับผู้เสียหาย รวมทั้งดำเนินการกับทรัพย์สินไปแล้วกลุ่มหนึ่ง แต่ปรากฏว่าขณะนี้กลุ่มคนร้ายที่ไม่ถูกจับกุมยังหลอกลวงประชาชน ตนจึงสั่งให้เร่งรัดดำเนินการอย่างเร่งด่วน จากการสืบสวนพบว่าคนร้ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มนี้หลอกลวงประชาชนแล้ว 4 ราย เมื่อเดือน ก.ย.-ต.ค. มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 1.3 ล้านบาท จึงสั่งอายัดบัญชีธนาคาร 10 บัญชี จาก 3 ธนาคาร ที่คนร้ายเปิดไว้รองรับเงินที่หลอกประชาชนมาได้


ไทยรัฐออนไลน์
9 ตุลาคม 2555, 09:00 น.


ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/newspaper/297102

ชื่อ: ตร.รวบยกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ โทรลวงเป็นปปง.ตุ๋นเหยื่อ 20 ล้าน อ้างจำใจหลอกคนไทย
โดย: chusit เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2012 09:20
ตร.รวบยกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ โทรลวงเป็นปปง.ตุ๋นเหยื่อ 20 ล้าน อ้างจำใจหลอกคนไทย

(http://upic.me/i/se/13530306751353030760l.jpg) (http://upic.me/show/41126178)

เมื่อเวลา 01.30 น.วันที่ 16 พ.ย. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานว่า ที่อาคาร 1 สนามบินดอนเมือง พ.ต.อ.กิตติ สะเภาทอง รอง ผบก.ปอศ. พร้อมด้วย พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย ผกก.5 บก.ปอศ. พ.ต.ท.รัฐพล น้อยช่างคิด รอง ผกก.5 บก.ปอศ. ควบคุมตัว นายสุรชัย แสงกันยา อายุ 24 ปี นายภูวนัย แสงกันยา อายุ 21 ปี นายสิทธิชัย สวยบุญ อายุ 21 ปี นายธนะโชติ อาบทรบุรี อายุ 39 ปี นายลิขิต พอดำมาก อายุ 36 ปี และน.ส.สุพัชรี เถาวัลย์ อายุ 22 ปี แก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ ตามหมายจับศาลอาญา เลขที่ 1925/2555 ถึงหมายจับที่ 1930/2555 ในข้อหา ร่วมกันฉ้อโกง ประชาชน มาจากเมืองจูไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ FD2533 กลับมาดำเนินคดีที่ประเทศไทย



พ.ต.อ.กิตติ เปิดเผยว่า  ผู้ต้องหาทั้ง 6 คน เป็นคนไทย และเปํนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ ที่ถูกตำรวจสันติบาลประจำมณฑลกวางตุ้ง และตำรวจเมืองจูไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน จับกุมได้ตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมาแล้ว ที่เมืองจูไห่ โดยเป็นการประสานข้อมูลกันระหว่าง ตำรวจไทยกับตำรวจที่นั่น เนื่องจากมีผู้เสียหายที่เมืองไทยกว่า 9 ราย แจ้งว่าถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรศัพท์มาหลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่ง ประเทศไทย และเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ง. ให้โอนเงินเข้าบัญชี โดยอ้างว่าเหยื่อมียอดค้างชำระหนี้บัตรเครดิต หรือเงินในบัญชี
มีที่มา ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้เหยื่อหลงเชื่อโอนเงินที่คนร้ายอ้างไปให้ มีมูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ทาง บก.ปอศ. จึงได้สืบสวนจนทราบหมายเลขไอพีของกลุ่มผู้ต้องหาและรู้ว่ามีฐานที่ตั้งอยู่ ที่เมืองจูไห่ จึงขออนุมัติหมายจับทั้ง 6 คน จากศาลอาญา จากนั้นประสานข้อมูลกับตำรวจที่นั่นจนสามารถจับกุมตัวเอาไว้ได้ทั้ง 6 คน ที่คอนโดแห่งหนึ่งในเมืองจูไห่



พ.ต.อ.กิตติ เปิดเผยต่อว่า กลุ่มผู้ต้องหาอีกประมาณ 8 คน ได้เดินทาง กลับมาทำวีซ่าที่ประเทศไทยขณะนี้รู้ตัวหมดแล้วอยู่ระหว่างติดตามจับกุมมา ดำเนินคดี ส่วนหัวหน้าใหญ่เป็นคนไต้หวันชื่อ อาเพ้า เจ้าหน้าที่ที่นั่นจะติดตามจับกุมต่อไป พฤติกรรมของแก๊งนี้ จะไปตั้งฐานอยู่ที่นั่นแล้วโทรศัพท์กลับเข้ามาหลอกคนไทย ซึ่งจากการตรวจสอบภายในคอนโดเจ้าหน้าที่พบว่า กลุ่มคนร้ายได้ใช้วิธีหลอกลวงเหยื่อโดยใช้โทรศัพท์ผ่านระบบ VOIP โทรศัพท์เข้ามาที่เบอร์ของคนไทยที่อยู่ที่ประเทศไทยประมาณ 3,600 เลขหมาย และยังได้ส่งข้อความเสียงในลักษณะการอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารต่างๆ ประมาณ 6 ล้านข้อความ มีเหยื่อที่ถูกหลอกและสูญเงินไปแล้วไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท



โดยกลุ่มคนร้ายจะแบ่งหน้าที่กันทำงานออกเป็น 4 สาย สายแรกจะให้ น.ส.สุพัชรี ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารโทรศัพท์ไปหลอกเหยื่อว่า มีการค้างชำระหนี้บัตรต่างๆ แล้วโอนให้สายที่สอง ที่อ้างตัวเป็นตำรวจเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ จากนั้นโอนให้สายที่สามที่จะเริ่มใช้วิธีโน้มน้าวและข่มขู่ให้เหยื่อโอนเงิน ให้ หากยังไม่หลงกลจะโอนให้สายสุดท้าย ซึ่งสายนี้จะเป็นขั้นตอนที่ใช้วิธีข่มขู่ที่หนักขึ้น หากมาถึงสายนี้ผู้เสียหายส่วนใหญ่มักจะหลงเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงจน ต้องออกไปโอนเงินให้ทันที โดยสายสุดท้ายนี้จะใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการพูดเป็นพิเศษหรือถูกฝึกมา เป็นอย่างดี

รอง ผบก.ปอศ. เปิดเผยต่ออีกว่า นอกจากนี้จากการตรวจสอบพาสปอร์ตของผู้ต้องหาทั้งหมดพบว่า มีการเดินทางเข้าออกประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนมาแล้วคนละไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้ง และล่าสุดพบว่าทั้งหมดเดินทางเข้าไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จึงไม่เชื่อว่าจะเป็นการทำเป็นครั้งแรกอย่างแน่นอน ส่วนนายหน้าคนไทยที่ชักชวนให้ผู้ต้องหาไปอยู่ที่นั่นกำลังหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อติดตามจับกุมมาดำเนินคดี และขอฝากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอย่างหลงเชื่อใครง่ายๆ โดยเฉพาะหากมีการโทรศัพท์เข้ามาแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากธนาคารต่างๆ ว่ามีการค้างชำระหนี้ และให้โอนเงินเข้าบัญชี พวกนี้ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตัวจริงอย่างแน่นอน



ขณะที่ นายลิขิต หนึ่งในผู้ต้องหา ให้การว่า จะทำหน้าที่เป็นสายที่4 ในการข่มขู่ให้เหยื่อโอนเงิน ได้ค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท พร้อมส่วนแบ่ง 3 เปอร์เซ็นต์จากเงินที่หลอกเหยื่อให้โอนเงินได้แต่ละราย บางวันก็หลอกไม่ได้เลย บางวันก็ได้หลายราย



น.ส.สุพัชรี ให้การว่า ไปที่นั่นเพราะรู้จักกับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ แพน ไม่ทราบชื่อนามสกุลจริง อายุประมาณ 35-40 ปี รู้จักกันจากการแชททางโทรศัพท์  จากนั้น น.ส.แพน ก็พาพวกตนมาทำพาสปอร์ตและวีซ่าให้ฟรีไม่คิดเงิน แล้วพามาส่งที่สนามบิน พอไปถึงที่นั่นก็มีคนมารอรับ แล้วพาไปอยู่ที่คอนโดดังกล่าว จากนั้นก็ถูกบังคับให้เป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรศัพท์กลับมาหลอกคนไทยให้โอน เงินไปให้หากไม่ทำจะยึดพาสปอร์ตทุกคน ซึ่งจะไม่สามารถกลับประเทศไทยได้ จึงต้องยอมทำ และไม่เคยได้ออกไปไหนอยู่แต่ในห้อง



พวกตนไม่อยากจะหลอกคนไทยด้วยกันแต่ไม่ทำก็ไม่ได้ เจ็บใจมากที่โดนหลอก อยากฝากเตือนผู้ที่อยากไปทำงานที่ต่างประเทศให้ระวังจะถูกหลอกเหมือนพวกตน และหากมีใครโทรศัพท์ไปหาบอกว่า เป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน สอบถามข้อมูลส่วนตัวและระบุว่ามีการค้างชำระค่าบัตรต่างๆ ให้โอนเงินไปให้ ให้คิดเลยว่าเป็นแก๊งต้มตุ๋นหลอกลวง เพราะเจ้าหน้าที่จริงจะไม่มีการโทรศัพท์ไปในลักษณะนี้อย่างแน่นอน



จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงนำตัวทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน บก.ปอศ. สอบสวนขยายผลหาผู้ร่วมขบวนการและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป



ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 08:49 น.

ที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU16QXpNRFkzTlE9PQ==&subcatid=
ชื่อ: ปอศ.รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์จีน
โดย: admin_01 เมื่อ 27 ธันวาคม 2012 16:33
ปอศ.รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์จีน

ตำรวจรวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์จีน ลวงเหยื่อเสียหายนับร้อยล้าน

(http://upic.me/i/hb/174725.jpg) (http://upic.me/show/42290995)

(http://upic.me/i/ms/t30w0.jpg) (http://upic.me/show/42290998)

(http://upic.me/i/ds/ndio2.jpg) (http://upic.me/show/42291003)

เมื่อเวลา 18.00 น.วันนี้ ( 26 ธ.ค.) ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) พล.ต.ต.สุรพล หอมชื่นชม ผบก.ปอศ. พร้อมด้วย พ.ต.อ.กิตติ สะเภาทอง รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญชัยเนาว์  รองผบก.ปอศ. พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย ผกก.5บก.ปอศ. พ.ต.ท.จักรกริช เสริมบุตร สว.กก.5บก.ปอศ. ร่วมกันแถลงผลจับกุม ผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประกอบด้วย นาย ซ่าย มู่ ซิง อายุ 41 ปี ชาวไต้หวัน นางจาง ลี่ เจิง อายุ 34 ปี ชาวจีน นางเหลียว ซู จิ่ง อายุ 25 ปี ชาวจีน นางจาง เป่า หยุ่น อายุ 39 ปี ชาวจีน นางหลู่ จิง ฟง อายุ 37 ปี ชาวจีน นางเจี่ย เยี่ย ฉิง อายุ 47 ปี ชาวไต้หวัน นายหวง เซิง ยี่ อายุ 30 ปี ชาวไต้หวัน นายฉาง หวง ซื่อ อายุ 34 ปี ชาวไต้หวัน นายจาง หย่ง ซู่ อายุ 45 ปี ชาวไต้หวัน และนายหวู เหวิง หวง อายุ 30 ปี ชาวไต้หวัน พร้อมของกลาง เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โทรศัพท์บ้าน วิทยุสื่อสาร เครื่องคิดเลข และเอกสารที่ใช้ในการหลอกลวงหลายรายการ โดยจับกุมได้ที่ บ้านเลขที่491/365 หมู่ 10 หมู่บ้านพนาวัลย์ สมาร์ทแลนด์ ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

พ.ต.อ.กิตติ เปิดเผยว่า  บก.ปอศ.ได้รับการประสานจากสถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ว่ามีกลุ่มชาวจีน ใช้วิธีการหลอกลวงโดยจัดตั้งเป็นคอล เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ใช้ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่า VOIP ซึ่งกำหนดหมายเลขให้แสดงบนเครื่องของเหยื่อเป็นหมายเลขโทรศัพท์ธนาคารใดก็ ได้ และหมายเลขหน่วยงานทางราชการได้อีกด้วย ทั้งนี้กลุ่มเหล่านี้มักอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วแจ้งให้เหยื่อทราบ ว่า ค้างชำระบัตรเครดิต หรือทำธุรกรรมที่ไม่ถูกต้อง และแอบอ้างเป็นตำรวจว่าจะดำเนินคดี เพื่อเป็นอุบายให้เหยื่อหลงเชื่อจนกลัวและยอมทำตามขั้นตอน โดยให้เหยื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม จากนั้นจะบอกขั้นตอนให้เปลี่ยนภาษาหรือโอนเงินไปยังบัญชีที่ต้องการจนเป็น เหตุให้เหยื่อได้รับความเสียหายหลายราย จากการตรวจสอบกลุ่มดังกล่าวได้ก่อเหตุจนมีเหยื่อหลงเชื่อหลายราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 20 กว่าล้านหยวน หรือประมาณ 100 กว่าล้านบาท

พ.ต.อ.กิตติ เผยต่อว่า  ภายหลังจากได้รับการประสานทางบก.ปอศ.ได้สืบสวนจนทราบว่ากลุ่มคนร้ายอยู่ที่ บ้านเลขที่491/365 หมู่ 10 หมู่บ้านพนาวัลย์ สมาร์ทแลนด์ ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จึงขออำนาจศาลจังหวัดชลบุรี ออกหมายค้น เลขที่ 1138/2555 ลงวันที่ 26 ธ.ค.55 จากนั้นได้เข้าตรวจค้นบ้านหลังดังกล่าวพบว่าเปิดเป็นสำนักงาน และพบผู้ต้องหาพร้อมของกลางดังกล่าวขณะกำลังทำงานอยู่จึงนำตัวสอบสวนที่ บก.ปอศ.  เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหา เป็นบุคคลต่างด้าว ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต จากนั้นนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สตม.เพื่อดำเนินคดีต่อไป.


เดลินิวส์ออนไลน์
วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2555 เวลา 21:55 น.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/crime/174725
ชื่อ: ตร.ปอศ.ร่วมตร.จีน จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์
โดย: chusit เมื่อ 21 มิถุนายน 2013 15:35

ตร.ปอศ.ร่วมตร.จีน จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์

เมื่อ 21 มิ.ย. ที่ บก.ปอศ. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ) พล.ต.ต.สุรพล หอมชื่นชม ผบก.ปอศ. พร้อมด้วย พ.ต.อ.กิตติ สะเภาทอง รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.ภูธร ปริศนานันทกุล รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย ผกก.5บก.ปอศ.พ.ต.ท.จักรกริช เสริบุตร สว.กก.5บก.ปอศ. และเจ้าหน้าที่บก.ปอศ. ร่วมกันแถลจับผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 15 คน พร้อมของกลาง โทรศัพท์บ้าน 8 เครื่องเลาเตอร์โมเดม 2 ตัว เอกสารบันทึกการจดรายการบัญชีของผู้เสียหาย 40 รายการ และโทรศัพท์มือถือหลายรายการ จับกุมได้ที่ อาคารปิงเจียงกงกาน เมืองตงก่วน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

พล.ต.ต.สุรพล เปิดเผยว่า ก่อนจับกุม ได้ มีผู้เสียหายมาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบก.ปอศ.ว่าถูกกลุ่มคนร้ายโทรศัพท์แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม หลอกลวงให้โอนเงินไป มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้าน บาท จากพฤติกรรมของกลุ่มคนร้ายเหล่านี้ เชื่อว่าเป็นกลุ่มคนร้ายที่ใช้วิธีการโทณศัพท์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ ระบบ VOIP (Voice Over Internet Protocol)โทรศัพท์มายังผู้เสียหายเพื่อหลอกวงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจนเหยื่อหลงเชื่อ แล้วโอนเงินไปยังบัญชี ที่กลุ่มคนร้ายได้เตรียมไว้ จากนั้นกลุ่มคนร้ายก็จะถอนเงินสดออกไปจากบัญชีอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรียกกันว่า แก๊ง คอลเซ็นเตอร์

พ.ต.อ.กิตติ สะเภาทอง รอง ผบก.ปอศ.เปิดเผยว่า หลังจากได้รับแจ้งจากทางผู้เสียหาย ทาง บก.ปอศ.ได้ทำการสืบสวน จนทราบว่าแก็งค์ดังกล่าวอยู่ในประเทศจีน จึงได้ประสานกับตำรวจจีน สืบสวนจนพบว่ามีชาวไต้หวัน และชาวจีน เป็นหัวหน้าขบวนการ มีคนไทย 15 คน ร่วมขบวนการ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. เวลา 09.30 น. เจ้าหน้าที่ กก.5บก.ปอศ.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศจีน นำหมายศาลเข้าทำการตรวจค้นอาคารดังกล่าว สามารถจับกุมผู้ร่วมขบวนการเป็นชาวไทยจำนวน 15 คน พร้อมหลักฐานเอกสารสำคัญระบุบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย 40 รายการ และควบคุมตัวกลับมาดำเนินคดีที่ประเทศไทย ส่วนหัวหน้าขบวนการทางเจ้าหน้าที่ตำรวจประเทศจีนดำเนินคดีในประเทศจีน

พ.ต.อ.กิตติ  เปิดเผยต่อว่า จากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพว่า ก่อนหน้านี้คนไทยที่จะเข้ามาร่วมขบวนการจะถูกนายหน้าคนไทยหลอกให้ไปทำงานโรงงานในประเทศจีน แต่พอมาถึงจะถูกสอนให้ใช้โทรศัพท์พูดตามสคลิปที่มีให้ โดยจะมีการให้ค่าคอมมิชชั่น 3 เปอร์เซ็นจากเงินที่หลอกมาได้ แต่ละคนจะมีรายได้เดือนละ 10,000-16,000 บาท   ช่วงหลังๆ ผู้ที่ร่วมขบวนการนี้จะไม่ได้ถูกบังคับ ต่างสมัครใจกันไปทำเองเพราะเห็นว่ามีรายได้ดี โดยที่ทุกคนจะสลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกลับบ้านทุกๆ 3 เดือนเพื่อนำเงินที่ได้กลับมาให้ครอบครัวในประเทศไทย

พ.ต.อ.กิตติ เปิดเผยต่อว่า ขบวนการดังกล่าวได้ก่อตั้งมากว่า 5 ปีแล้ว สมาชิกในขบวนการ จะแบ่งกันทำงานออกเป็น3 กลุม กลุ่มแรกที่เพิ่งไปทำงานยังไม่ชำนาญ จะสุ่มหาหมายเลขโทรศัพท์ แล้วแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสอบถามรายละเอียดข้อมูล ชื่อ บัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขบัญชี ธนาคาร กลุ่มที่ 2 ซึ่งมาอยู่นานเริ่มมีความชำนาญ จะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำการข่มขู่ หลอกล่อว่าเหยื่อเป็นหนี้ธนาคาร หากเหยื่อไม่เชื่อ ก็จะบอกว่าผู้เสียหายมีคดีพัวพันกับยาเสพติด จนเหยื่อหลงเชื่อ แล้วบอกเหยื่อว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงสารถช่วยเหลือได้ ซึ่งก็คือกลุ่มที่ 3  จะรับช่วงต่อโดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง เป็นผู้ที่มีความชำนาญ สามรถพุดให้เหยื่อหลงเชื่อแล้วโอนเงินให้  เคลียร์เพื่อใหพ้นจากกรณีที่คนร้ายแต่งขึ้นมา โดยให้เหยื่อนำเงินสดไปโอนที่ตู้โอนเงินอัตโนมัติตามธนาคาร ตามเลขบัญชีธนาคารในประเทศไทย ซึ่งจะมีคนไทยรับจ้างเปิดบัญชีไว้ แต่เงินจะถูกถอนที่ประเทศจีน

พ.ต.อ.กิตติ เปิดเผยต่อว่า การจับกุมครั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายที่โอนไปแล้วได้ทันเนื่องจากมีการ ถอนเงินออกจากบัญชีทั้งหมดไปเรียบร้อยแล้ว ทางบก.ปอศ. ขอประชาสัมพันธ์สำหรับประชาชนที่ถูกก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวให้เข้ามาร้องทุกข์ที่บก.ปอศ.ได้ และฝากถึงประชาชนทุกคน ที่ถูกคนร้ายโทรศัพท์มาทำทีอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่นั้น ขอให้ตั้งสติเมื่อรับสาย อาจเป็นคนร้ายหลอกให้โอนเงิน


ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 15:05 น.


ที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01UZ3dNVGcwTXc9PQ==&subcatid=
ชื่อ: "ปอศ."จับมือตำรวจจีนทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์กวางตุ้ง
โดย: chusit เมื่อ 21 มิถุนายน 2013 16:50
"ปอศ."จับมือตำรวจจีนทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์กวางตุ้ง

(http://upic.me/i/0s/213582.jpg) (http://upic.me/show/45511577)

(http://upic.me/i/wt/apr50.jpg) (http://upic.me/show/45511578)

(http://upic.me/i/02/xpk11.jpg) (http://upic.me/show/45511161)

(http://upic.me/i/76/jqey3.jpg) (http://upic.me/show/45511579)

(http://upic.me/i/0g/p10z4.jpg) (http://upic.me/show/45511580)

(http://upic.me/i/yx/ycu25.jpg) (http://upic.me/show/45511581)


เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 21 มิ.ย. ที่ บก.ปอศ. พล.ต.ต.สุรพล หอมชื่นชม ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.กิตติ สะเภาทอง รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.ภูธร ปริศนานันทกุล รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย ผกก.5 บก.ปอศ. พ.ต.ท.จักรกริช เสริบุตร สว.กก.5 บก.ปอศ. และชุดสืบสวน ร่วมกันแถลงผลจับตัวตัวผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 15 คน พร้อมของกลาง โทรศัพท์บ้าน 8 เครื่อง เร้าเตอร์โมเด็ม 2 ตัว เอกสารบันทึกการจดรายการบัญชีของผู้เสียหาย 40 รายการ และโทรศัพท์มือถือหลายรายการ โดยจับกุมตัวได้ที่ อาคารปิงเจียงกงกาน เมืองตงก่วน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน


พล.ต.ต.สุรพล เปิดเผยว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจากมีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งกับทาง บก.ปอศ.ว่าถูกกลุ่มคนร้ายโทรศัพท์แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม หลอกลวงให้โอนเงินไปเป็นมูลค่านับสิบล้านบาท ซึ่งทางเจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มคนร้ายที่ใช้วิธีการโทรศัพท์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือระบบ VOIP (Voice Over Internet Protocol) โทรศัพท์มาหาผู้เสียหาย เพื่อหลอกวงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจนเหยื่อหลงเชื่อ ก่อนโอนเงินเข้าบัญชี เข้าข่ายการต้มตุ๋นในลักษณะของแก๊งคอลเซ็นเตอร์


ด้าน พ.ต.อ.กิตติ กล่าวว่า หลังจากได้รับแจ้งจากทางผู้เสียหาย บก.ปอศ.ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศ ทำการสืบสวนกรณีนี้ ใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐาน ข้อมูลต่าง ๆ นานนับปี จนทราบที่อยู่ของฐานปฏิบัติการแก๊งดังกล่าว อีกทั้งทราบอีกด้วยว่ามีชาวไต้หวัน และชาวจีน เป็นหัวหน้าขบวนการ โดยมีคนไทย 15 คน ร่วมขบวนการ จนกระทั่งเมื่อช่วงสายของวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้สั่งการให้ พ.ต.ท.จักรกริช พร้อมเจ้าหน้าที่ กก.5 บก.ปอศ. สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศจีน นำหมายศาลเข้าทำการตรวจค้นอาคารดังกล่าว และสามารถควบคุมตัวผู้ร่วมขบวนการเป็นชาวไทยจำนวน 15 คน พร้อมหลักฐานเอกสารสำคัญระบุบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย 40 รายการ จากนนั้นนำตัวกลับประเทศไทย เพื่อทำการสอบสวนที่บก.ปอศ. ส่วนหัวหน้าขบวนการทางเจ้าหน้าที่ตำรวจประเทศจีนคุมตัวไว้ดำเนินคดีในประเทศตามขั้นตอน


รอง ผบก.ปอศ. กล่าวต่อว่า จากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพ ก่อนหน้านี้คนไทยที่จะเข้ามาร่วมขบวนการจะถูกนายหน้าคนไทยหลอกให้ไปทำงานโรงงานในประเทศจีน แต่พอมาถึงจะถูกสอนให้ใช้โทรศัพท์พูดตามสคลิปที่มีให้ โดยจะมีการให้ค่าคอมมิชชั่น 3 เปอร์เซ็นจากเงินที่สามารถหลอกมาได้ ซึ่งแต่ละคนจะมีรายได้ตกเดือนละ 10,000-16,000 บาท ทำให้ช่วงหลังต่างสมัครใจเข้ามาทำเอง เพราะเห็นว่ารายได้ดี ซึ่งทุกคนจะสลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกลับบ้านทุก 3 เดือน เพื่อนำเงินที่ได้กลับมาให้ครอบครัวในประเทศไทย


สำหรับแก๊งนี้ก่อเหตุมานานกว่า 5 ปีแล้ว ซึ่งแต่ละคนจะมีหน้าที่หลอกลวงเหยื่อแตกต่างกันประกอบไปด้วย 3 หน้าที่ โดยคนแรกจะเป็นสุ่มหมายเลขโทรศัพท์เพื่อหาเหยื่อก่อนจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสอบถามหารายละเอียดข้อมูล ชื่อ บัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขบัญชี ธนาคารอะไรบ้าง ส่วนคนต่อมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะทำการข่มขู่ หลอกล่อว่าเหยื่อเป็นหนี้ธนาคาร หากไม่เป็นผลก็จะใช้ไม้แข็งว่าผู้เสียหายมีคดีพัวพันเกี่ยวกับยาเสพติด จนเหยื่อหลงเชื่อ ส่วนคนสุดท้ายจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ซึ่งจะบังคับให้เหยื่อโอนเงินเข้ามาเคลียร์ เพื่อให้รอดพ้นจากกรณีที่คนร้ายแต่งขึ้นมาจนเหยื่อจะหลงเชื่อดำเนินการตามคนร้าย โดยให้เหยื่อนำเงินสดไปโอนที่ตู้โอนเงินอัตโนมัติตามธนาคาร จากนั้นให้ส่งมาตามเลขบัญชีธนาคารในประเทศไทย ซึ่งจะมีคนไทยรับจ้างเปิดบัญชีไว้ แต่เงินจะถูกถอนที่ประเทศจีน จากการที่คนร้ายได้ทำปลอมแปลงบัตรกดเงินไว้ถอนอีกด้วย


“อย่างไรก็ตามจากการจับกุมครั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายได้ทันเนื่องจากมีการโอนเงิน และถอนเงินออกจากบัญชีทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้ต้องหาทุกคน ทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ทางบก.ปอศ. ขอประชาสัมพันธ์สำหรับประชาชนที่ถูกก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวให้เข้ามาร้องทุกข์ที่บก.ปอศ.ได้ ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่อยากจะฝากให้ประชาชนทุกคน หากถูกคนร้ายโทรศัพท์มาทำทีอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่นั้น ขอให้ตั้งสติเมื่อรับสาย บอกกับตัวเองทุกครั้งว่าปลายสายเหล่านั้นอาจเป็นคนร้ายก็เป็นได้” พล.ต.ต.สุรพล กล่าว.



เดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 12:44 น.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/crime/213582
ชื่อ: ตร.บุกกวางตุ้ง รวบแก๊งคอลฯ ตุ๋นโอน20ล้าน ไต้หวันหัวโจก
โดย: chusit เมื่อ 23 มิถุนายน 2013 15:54
ตร.บุกกวางตุ้ง รวบแก๊งคอลฯ ตุ๋นโอน20ล้าน ไต้หวันหัวโจก

(http://upic.me/i/5x/o320a.jpg) (http://upic.me/show/45540681)

(http://upic.me/i/pt/hcxth.jpg) (http://upic.me/show/45540734)

บก.ปอศ. ตะลุยแดนมังกร รวบ แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงินคนไทยคาถิ่น “รองกุ่ย-กิตติ สะเภาทอง” รองผู้การหัวหน้าชุดจับ เผย หัวโจกเป็นชาวไต้หวัน จ้างคนไทยสร้างเรื่องหลอกคนไทยด้วยกัน ขณะที่ผู้ต้องหาคนไทยสารภาพรายได้ดี ตกเดือนละ 12,000-16,000 บาท ไม่นับค่าคอมมิชชั่นอีก 3-7 เปอร์เซ็นต์จากเงินที่ตุ๋นมาได้ พบหลักฐานระหว่างช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้เสียหายหลวมตัวถูกหลอกไปกว่า 20 ล้านบาท

ตำรวจไทยบุกจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ถึงเมืองจีนถิ่นมังกร โดยเมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 21 มิ.ย. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ถนนสาทรเหนือ พล.ต.ต.สุรพล หอมชื่นชม ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.กิตติ สะเภาทอง รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.ภูธร ปริศนานันทกุล รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย ผกก.5 บก.ปอศ.ร่วมกันแถลงจับกุมนายสุไกว แสงนอก อายุ 28 ปี พร้อมพวกรวม 15 คน พร้อมของกลาง โทรศัพท์บ้านแบบตั้งโต๊ะ 8 เครื่อง เครื่องต่อโทรศัพท์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ 3 อัน เอกสารบันทึกการจดรายการบัญชีผู้เสียหาย 40 รายการ สมุดแบบฟอร์มคำพูดที่ใช้พูดโน้มน้าวลูกค้าให้หลงเชื่อ จับกุมผู้ต้องหาได้ที่อาคารปิงเจียงกงกาน เมืองตงก่วน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา

พล.ต.ต.สุรพลกล่าวว่า มีผู้เสียหายจำนวนมากเข้าแจ้งความ บก.ปอศ. ถูกคนร้ายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ธนาคารต่างๆ ตำรวจปราบปรามยาเสพติด และเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม โทรศัพท์หลอกถามข้อมูลส่วนตัวแจ้งผู้เสียหายว่า เป็นหนี้บัตรเครดิตหรือมีรายชื่อเกี่ยวข้องยาเสพติดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องนำเงินทั้งหมดในบัญชีเข้ามาตรวจสอบ และจะโอนคืนให้หลังตรวจสอบเสร็จสิ้น จากนั้นกลุ่มผู้ต้องหาจะโอนเงินผู้เสียหายไปที่ประเทศจีน รวมความเสียหายระหว่างช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. สูงประมาณ 20 ล้านบาท ทั้งนี้ ชุดสืบสวน บก.ปอศ.สืบสวนนานกว่า 1 ปี พบว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าวมีที่ตั้งอยู่ที่อาคารปิงเจียงกงกาน เมืองตงก่วน มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงประสานตำรวจจีนเข้าตรวจค้น จับกุมผู้ต้องหาได้ 19 คน มีนายฉิง เกอ อายุ 32 ปี ชาวไต้หวัน เป็นหัวหน้า ที่เหลือเป็น ชาวจีน 3 คน ชาวไทย 15 คน แยกเป็นชาย 10 คน และหญิง 5 คน ก่อนนำผู้ต้องหาทั้งหมดกลับมาดำเนินคดีที่ประเทศไทย โดยเดินทางมาถึงเมื่อเวลา 02.30 น. วันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา

ด้าน พ.ต.อ.กิตติ หัวหน้าชุดจับกุมกล่าวว่า เบื้องต้นผู้ต้องหาทั้งหมดรับสารภาพ โดย 1 ใน 15 ผู้ต้องหาชาวไทยให้การว่า ก่อนเข้าร่วมขบวนการจะมีนายหน้าคนไทยชักชวนให้ไปทำงานโรงงานในประเทศจีน แต่เมื่อมาถึงจะถูกสอนให้โทรศัพท์พูดตามสคริป สุดท้ายแต่ละคนจะมีรายได้ตกเดือนละ 10,000-16,000 บาท และจะได้ค่าคอมมิชชั่นอีก 3-4 เปอร์เซ็นต์จากเงินที่หลอกมาได้ จนคนไทยที่ถูกหลอกมาทำงานโรงงานต่างสมัครใจทำ เนื่องจากมีรายได้ดี และจะสลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกลับประเทศไทยทุกๆ 3 เดือนนำเงินกลับมาให้ครอบครัว สำหรับแก๊งนี้ตั้งมากว่า 5 ปี แต่ละคนจะมีหน้าที่หลอกลวงเหยื่อแตกต่างกันตามที่คนร้ายแต่งขึ้น จนเหยื่อหลงเชื่อนำเงินสดไปโอนที่ตู้โอนเงินอัตโนมัติ จากนั้นจะมีผู้ร่วมขบวนการถอนเงินออกมา และส่งต่อเข้าบัญชีแม่ที่ประเทศจีนทันที เบื้องต้นส่งผู้ต้องหาทั้งหมดดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน

ไทยรัฐออนไลน์
22 มิถุนายน 2556, 09:00 น.


ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/newspaper/352759
ชื่อ: ปปง.เตือนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาดอีก
โดย: chusit เมื่อ 26 สิงหาคม 2013 09:20
ปปง.เตือนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาดอีก

(http://upic.me/i/a9/228606.jpg) (http://upic.me/show/46713237)

เตือนประชาชน ระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาดอีกรอบ แอบอ้างเป็นเลขาธิการ ปปง. หลอกให้โอนเงินพิสูจน์ความบริสุทธิ์ แนะสงสัย ติดต่อผ่านที่ www.amlo.go.th หรือโทรสายด่วน 1710 เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง

เมื่อวันที่ 25 ส.ค.​พ.ต.อ. ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(เลขาธิการ ปปง.) กล่าวว่า ได้มีประชาชนติดต่อมายังสำนักงาน ปปง. เป็นจำนวนมาก แจ้งว่าในขณะนี้มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ระบาดอีกรอบ โดยแอบอ้างเป็น พ.ต.อ. ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. มีพฤติการณ์คือจะโทรศัพท์เข้าหามือถือของเหยื่อโดยหมายเลขที่โทรศัพท์เข้าจะเป็นหมายเลขโทรศัพท์มือถือเช่น 089 3950920 และแจ้งว่าโทรศัพท์มาจากตำรวจว่าในขณะนี้เหยื่อ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับขบวนการค้ายาเสพติด เนื่องจากพบสมุดบัญชีธนาคารของเหยื่อในขณะจับกุมผู้ค้ายาเสพติด หากต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้าให้เหยื่อถอนเงินในบัญชีธนาคารทั้งหมด แล้วนำเงินไปฝากที่ตู้รับฝากเงินสดของธนาคาร ซึ่งจะต้องดำเนินการคนเดียว ห้ามบอกเรื่องนี้กับใครจนกว่าจะโอนเงินเสร็จ ถ้าไม่ให้ความร่วมมือจะถูกฆ่าปิดปาก และจะบอกหมายเลข 10 หลักให้โอนเงินขณะอยู่ที่ตู้ฝากเงินระหว่างดำเนินการถอนและฝากเงินจะส่งคนไปคอยดูแลความปลอดภัย และจูงใจเหยื่อว่าบัญชีที่เปิดโดยมิจฉาชีพชื่อเหยื่อมีเงินอยู่ 180,000 บาท หากตรวจสอบแล้วพบว่าเหยื่อบริสุทธิ์ตำรวจจะมอบเงินในบัญชีดังกล่าวให้กับเหยื่อ ขณะคุยโทรศัพท์จะถูกบังคับไม่ให้วางหรือปิดโทรศัพท์ และคอยขู่เหยื่อเสมือนว่าติดตามเหยื่ออยู่จริงเช่นพูดถึงสถานที่ใกล้เคียงที่เหยื่ออยู่ในขณะนั้น เป็นต้น


เลขาธิการ ปปง. กล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพโดยเด็ดขาดเนื่องจากข้าราชการ สำนักงาน ปปง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลขาธิการ ปปง. ไม่มีนโยบายโทรศัพท์ตรงไปยังประชาชน เพื่อให้ดำเนินการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือการฟอกเงิน โดยการโอนเงินไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอให้สื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้รับทราบเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะพัฒนารูปแบบการหลอกลวงไปเรื่อย ๆ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อและให้วางโทรศัพท์ทันทีไม่ควรพูดหรือเจรจาเพราะมิจฉาชีพจะมีวิธีพูดให้เหยื่อกลัวและไม่กล้าวางสาย หากมีข้อสงสัยให้เปิดเวปไซค์ของสำนักงาน ปปง. ที่ www.amlo.go.th หรือโทรสายด่วนปปง. 1710 เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง ซึ่งบนเวปไซค์ของสำนักงาน ปปง.จะมีการแจ้งเตือนประชาชนกรณีดังกล่าวด้วย..

เดลินิวส์ออนไลน์
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 21:31 น.

ที่มา :  http://www.dailynews.co.th/crime/228606
ชื่อ: ปปง.ติวเข้มสถาบันการเงินแนะอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ
โดย: chusit เมื่อ 12 กันยายน 2013 10:27
ปปง.ติวเข้มสถาบันการเงินแนะอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ

(http://upic.me/i/sn/232119.jpg) (http://upic.me/show/47015063)

(http://upic.me/i/lr/y8d01.jpg) (http://upic.me/show/47015064)

ปปง.ติวเข้มสถาบันการเงินตรวจสอบลูกค้าก่อนทำธุรกรรม แนะอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่พัฒนารูปแบบการหลอกหลวงมาเป็นระยะ

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 10 ก.ย.ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะและคอนเว็นชั่นเซ็นเตอร์ พ.ต.อ.ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. เชิญผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นตัวแทนจากธนาคารและสถาบันการเงินกว่า 700 คน เข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง “กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2556 ”  โดยเลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า ตามที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 ซึ่งประกาศเพิ่มเติมให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการลงทุนและตลาดหลักทรัพย์ ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณีเพชรพลอย ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์ ผู้ประกอบอาชีพนายหน้าหรือตัวแทน ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่า ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิต และผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องกำหนดนโยบายการรับลูกค้าการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวกับการฟอกเงินของลูกค้า และต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าเมื่อเริ่มทำธุรกรรมครั้งแรก

โดยการดำเนินการดังกล่าวจะมีขอบเขตเพียงใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง. ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวมีความชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลจึงได้ออกกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ.2556 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา ประกอบกับสำนักงาน ปปง. ได้มีการจัดทำร่างประกาศสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินออกตามกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าจำนวน 9 ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

สำนักงาน ปปง. เล็งเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน โดย FATF ในปี พ.ศ.2558 จึงได้มีการจัดโครงการสัมมนานี้ขึ้น การสัมมนาในครั้งนี้จะสามารถช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถอำนวยประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และนำไปสู่การเป็นประเทศที่ไม่มีความเสี่ยงในด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างถาวร ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้า การลงทุน และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

เลขาธิการ ปปง. กล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพโดยเด็ดขาดเนื่องจากข้าราชการ สำนักงาน ปปง. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลขาธิการ ปปง. ไม่มีนโยบายโทรศัพท์ตรงไปยังประชาชน เพื่อให้ดำเนินการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือการฟอกเงิน โดยการโอนเงินไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่ตกเป็นเหยื่อ กลุ่มมิจฉาชีพที่่ได้พัฒนารูปแบบการหลอกลวงไปเรื่อย ๆ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อและให้วางโทรศัพท์ทันทีไม่ควรพูดหรือเจรจาเพราะมิจฉาชีพจะมีวิธีพูดให้เหยื่อกลัวและไม่กล้าวางสาย

สำนักงาน ปปง.จะเข้าตรวจค้นเพื่อดำเนินคดีกับสถาบันการเงินที่ยังมีบัญชีเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือค้ายาเสพติด เนื่องจากการกระทำดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับประชาชนในวงกว้าง ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล. หากมีข้อสงสัยให้เปิดเวปไซค์ของสำนักงาน ปปง. ที่ www.amlo.go.th หรือโทรสายด่วนปปง. 1710 เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง ซึ่งบนเวปไซค์ของสำนักงาน ปปง. จะมีการแจ้งเตือนประชาชนกรณีดังกล่าวด้วย


เดลินิวส์ออนไลน์
วันอังคารที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 16:31 น.


ที่มา : http://www.dailynews.co.th/crime/232119
ชื่อ: ขอความร่วมมือธนาคาร แปะสติ๊กเกอร์ตู้เอทีเอ็มแจ้งเตือน
โดย: chusit เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2013 09:31
ขอความร่วมมือธนาคาร แปะสติ๊กเกอร์ตู้เอทีเอ็มแจ้งเตือน

(http://upic.me/i/40/474203.jpg) (http://upic.me/show/48316359)
ปปง. แจ้งเตือนภัยประชาชนถูกหลอกลวงหลายรูปแบบมากขึ้น ขอความร่วมมือแบงค์ แปะสติ๊กเกอร์แจ้งเตือน “ระวังจะเสียเงินฟรี” ที่ตู้เอทีเอ็มด้วย


เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.ดร. สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า จากสถิติการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และแจ้งเบาะแส ของรับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส สายด่วนหมายเลข 1710 ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2556 จนถึงปัจจุบัน เรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเป็นอันดับ 1 ได้แก่ การฉ้อโกงประชาชน โดยรูปแบบและพฤติการณ์ที่ได้รับร้องเรียนมากที่สุด มี 2 รูปแบบ คือ 1.การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. หรือ เลขาธิการ ปปง. แจ้งว่าผู้เสียหายมีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและจะต้องถูกดำเนินการยึดอายัดทรัพย์สินสำนักงาน ปปง. จึงต้องตรวจสอบเงินในบัญชี

หากต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ต้องโอนเงินผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) หรือโอนผ่านเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ (CDM) เพื่อตรวจพิสูจน์สารเสพติด และเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยจะโอนเงินคืนกลับไปยังบัญชีผู้เสียหายในภายหลัง เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและโอนเงินไปเรียบร้อยแล้ว ผู้เสียหายพยายามติดต่อกลับไปยังมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ จะไม่มีสัญญาณและติดต่อไม่ได้ ผู้เสียหายจึงทราบว่าถูกมิจฉาชีพหลอกลวง 2.การติดต่อกับผู้เสียหายผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ เฟสบุ๊ค โดยมิจฉาชีพจะมีการสร้างประวัติส่วนตัว (Profile) ปลอมและอ้างว่าทำงานอยู่ต่างประเทศมาขอเป็นเพื่อน เมื่อผู้เสียหายไว้วางใจแล้ว มิจฉาชีพจะแจ้งความประสงค์ที่จะโอนเงินจำนวนมากเข้ามายังประเทศไทย จากนั้นจะหลอกให้ผู้เสียหายเปิดบัญชีเพื่อรับเงินผ่าน เช็คของธนาคาร ซึ่งจะอ้างต่อไปว่ามีเงินไม่เพียงพอในการเปิดบัญชี จึงขอยืมเงินจากผู้เสียหายในการเปิดบัญชี

หลังจากนั้นจะมีผู้ร่วมขบวนการอีกคนหนึ่งติดต่อมายังผู้เสียหายและอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร และแจ้งหมายเลขบัญชีให้ผู้เสียหายโอนเงิน เมื่อโอนเงินเรียบร้อยแล้ว มิจฉาชีพจะขาดการติดต่อกับผู้เสียหายและลบข้อมูลประวัติส่วนตัว (Profile) บนสื่อออนไลน์ เพื่อมิให้ผู้เสียหายติดต่อกับมิจฉาชีพได้อีกต่อไป ผู้เสียหายจึงทราบว่าถูกมิจฉาชีพหลอกลวง ดังนั้น สำนักงาน ปปง. จัดจึงทำสติ๊กเกอร์สีฟ้า ขนาด 7x7 เซนติเมตร ข้อความว่า “ระวังจะเสียเงินฟรี! อย่าหลงเชื่อคนร้ายโทรศัพท์หลอกให้โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือตู้รับฝากเงินสด ร้องเรียน สายด่วน ปปง. 1710” โดยขอความร่วมมือไปยังธนาคารต่างๆ ดำเนินการติดแผ่นสติ๊กเกอร์บริเวณเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) และเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ (CDM) ทุกธนาคาร ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อเป็นการป้องปรามและแจ้งเตือนประชาชนมิให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพและมิให้สูญเสียทรัพย์สินจากการหลอกลวง

เลขาธิการ ปปง. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพโดยเด็ดขาด ควรวางโทรศัพท์ทันทีไม่ควรพูดหรือเจรจาเพราะมิจฉาชีพจะมีวิธีพูดให้เหยื่อกลัวและไม่กล้าวางสาย และขอให้สื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้รับทราบเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะพัฒนารูปแบบการหลอกลวงไปเรื่อย ๆ หากมีข้อสงสัยให้เปิดเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. ที่www.amlo.go.th หรือโทรสายด่วน ปปง. 1710 เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง ซึ่งบนเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง.จะมีการแจ้งเตือนประชาชนกรณีดังกล่าวด้วย ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ หากมีข้อสงสัยให้เปิดเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. ที่ www.amlo.go.thหรือโทรสายด่วน ปปง. 1710 เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง ซึ่งบนเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. จะมีการแจ้งเตือนประชาชนกรณีดังกล่าวด้วย


เดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ 22 พฤศจิกายน 2556 เวลา 20:51 น.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=196859
ชื่อ: รายงานพิเศษ "คอลเซ็นเตอร์"ภัยร้ายใกล้ตัว
โดย: chusit เมื่อ 09 เมษายน 2014 10:28
รายงานพิเศษ "คอลเซ็นเตอร์"ภัยร้ายใกล้ตัว

แม้จะมีการปราบปราม และเตือนภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผ่านตามสื่อบ่อยครั้ง แต่ขบวนการอาชญากรรมกลุ่มนี้ ยังปรับเปลี่ยนเล่ห์กลในการต้มตุ๋นเหยื่อรายวัน เป็นอย่างไรเชิญติดตามจากรายงานพิเศษ ของ 'นิวทีวี'

(http://upic.me/i/82/629842.jpeg) (http://upic.me/show/50495273)


เดลินิวส์ออนไลน์
วันอังคาร 8 เมษายน 2557 เวลา 19:15 น.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th
ชื่อ: เลขาธิการ ปปง.แฉเหลี่ยมแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์
โดย: admin_01 เมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:51
เลขาธิการ ปปง.แฉเหลี่ยมแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์

(http://upic.me/i/4m/680857.jpeg)
(http://upic.me/show/51095139)

ปปง.เตือนระวังภัย แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์รูปแบบใหม่ 2 ปีที่ผ่านมา ประชาชนถูกูกหลอกเงินสูญกว่า60 ล้านบาท


วันที่ 16 พ.ค. พ.ต.อ.ดร. สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เลขาธิการ ปปง.) กล่าวว่า ในปัจจุบันมีประชาชนได้ร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส สายด่วน ปปง. 1710 ตั้งแต่ปี 2555 เป็นจำนวนมากว่า ถูกแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์หลอกลวงให้โอนเงินในรูปแบบต่างๆ สูญเงินไปกว่า 60 ล้านบาท เนื่องจากขบวนการแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์เหล่านี้ มีการแบ่งหน้าที่กันทำอย่างมีระบบเหมือนกับหน่วยงานของทางราชการจริงๆ น่าเชื่อถือ แม้สำนักงาน ปปง. จะดำเนินการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนทางสื่อประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการหลอกลวงตลอดเวลาเช่นกัน

โดยสำนักงาน ปปง .สามารถตรวจสอบรูปแบบ การหลอกลวงให้โอนเงินของแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ อาทิ การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สานักงาน ปปง. หรือ เลขาธิการ ปปง.โดยมิจฉาชีพจะโทรศัพท์หาผู้เสียหายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สานักงาน ปปง. หรือ เลขาธิการ ปปง. และแจ้งผู้เสียหายว่า มีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและจะต้องถูกดำเนินการยึดอายัดทรัพย์สินสำนักงาน ปปง . จึงต้องตรวจสอบเงินในบัญชี หากต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ต้องโอนเงินผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) หรือโอนผ่านเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ (CDM) เพื่อตรวจพิสูจน์สารเสพติด และเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยจะโอนเงินคืนกลับไปยังบัญชีผู้เสียหายในภายหลัง เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและโอนเงินไปเรียบร้อยแล้วผู้เสียหายพยายามติดต่อกลับไปยังมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ก็จะไม่มีสัญญาณ และไม่สามารถติดต่อได้ หรือการหลอกลวงโดยอ้างว่าเป็นชาวต่างชาติที่ร่ำรวย ทำทีติดต่อพูดคุยกับผู้เสียหายจนสนิทสนม และสร้างความไว้วางใจแล้วขอหมายเลขบัญชีจากนั้นจะหลอกให้โอนเงิน, บางรายปลอม SMS เพื่อหลอกให้โอนเงิน หรือปลอมเป็น SMS จากธนาคาร, การหลอกเป็นเพื่อนทางเฟสบุ๊คและจะส่งเงินมาให้, การแอบอ้างเป็นเลขาธิการ ปปง. หากต้องการ “พิสูจน์ตนเอง”และต้องการ “ช่วยราชการ” โอนเงินมาให้ตรวจพิสูจน์  โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นเลขาธิการ ปปง. แจ้งผู้เสียหายว่ามีผู้แอบอ้างนำบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งผู้เสียหายจะต้องถูกดำเนินการยึดอายัดทรัพย์สิน โดยสานักงาน ปปง., การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศไทยหลอก

พ.ต.อ.ดร. สีหนาท กล่าวต่อไปว่า จากรูปแบบและวิธีการหลอกลวงของมิจฉาชีพดังกล่าวจะมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น ขอให้ประชาชนให้ระมัดระวังอย่าหลงเชื่อ เนื่องจากไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะหลักการปฏิบัติตามข้อเท็จจริงหน่วยราชการ จะดำเนินการใดๆ ก็ตาม จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ไปพบ ณ สถานที่ราชการ ในวัน เวลา ราชการเท่านั้น และหากผู้เสียหายได้มีการโอนเงินไปยังบัญชีของมิจฉาชีพแล้ว ห้ามทำลายสลิปการโอนเงินหรือห้ามฉีกโดยเด็ดขาดให้เก็บไว้ เป็นหลักฐานและส่งสำนักงาน ปปง.โดยด่วน เพื่อจะได้ติดตามร่องรอยบัญชีการโอนเงิน ซึ่งสานักงาน ปปง. สามารถทำการระงับการโอนเงินในบัญชีดังกล่าวคืนให้กับผู้เสียหายได้

นอกจากนี้ เลขาธิการ ปปง. ได้ย้ำเตือนประชาชนทุกคนว่า หากมีผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ เช่น ปปง. ตำรวจ เป็นต้น โดยอ้างว่ามีการใช้บัญชีธนาคารของประชาชนในการฟอกเงิน ซึ่งจะต้องถูกออกหมายจับกุมหรือถูกอายัดเงินในบัญชีนั้น ก็ขอให้ประชาชนทุกคนตั้งสติให้ดี อย่าได้หวาดกลัวและหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของคนร้ายอย่างเด็ดขาด หากมีข้อสงสัยให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือหากพบว่ามีความผิดปกติ ก็ควรรีบวางสายโทรศัพท์ทันที ทั้งนี้ในส่วนของสานักงาน ปปง. ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-2193600 หรือ สายด่วน ปปง. โทร. 1710 ในวันและเวลาราชการ..
เดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ 16 พฤษภาคม 2557 เวลา 18:46 น.

ที่ใมา : http://www.dailynews.co.th/Content/crime/238011
ชื่อ: รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเอาเงินชาวเกาหลี | เดลินิวส์
โดย: chusit เมื่อ 25 มิถุนายน 2015 13:43
รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเอาเงินชาวเกาหลี


(http://upic.me/i/2p/1089284.jpg) (http://upic.me/show/55979560)

(http://upic.me/i/sk/1089285.jpg) (http://upic.me/show/55979561)

ตำรวจกองปราบ สนธิกำลัง สน.คลองตัน ตามรวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวเกาหลี โทรศัพท์ข้ามประเทศไปหลอกเอาเงินเพื่อนร่วมชาติ พบหลักฐานสมุดบัญชีมีเงินหมุนเวียนหลายล้านวอน เร่งสอบความเสียหายทางการเงิน ดำเนินการตามกฎหมาย วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 21:12 น. เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. พ.ต.อ.อัคราเดช พิมลศรี รรท.ผบก.ป. พ.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รรท.ผกก.ปพ. พ.ต.ท.ปิยรัช สุภารัตน์ รองผกก.ปพ. ร.ต.อ.ปริญญา เอิบอาบ สว.กก.ปพ. พร้อมด้วย พ.ต.อ.ชัยพล เอกกุล ผกก.สน.คลองตัน และ พ.ต.ท.ฤทธี ปานดำ รอง ผกก.ป. นำกำลังเข้าตรวจค้นห้องพักเลขที่ 35/68 ชั้น 6 อาคารเอ คอนโดมิเนียมหรูแห่งหนึ่ง ภายในซอยสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคอลงเตยเหนือ กทม. หลังได้รับแจ้งมีแกงค์คอลเซ็นเตอร์ชาวเกาหลีเปิดห้องในคอนโดฯ ดังกล่าว ที่เกิดเหตุเป็นอาคารสูง 6 ชั้น ในห้องพักดังกล่าวพบ ชาวเกาหลี 7 คน ชาย 6 หญิง 1 ทราบชื่อ นายปาร์ค จี ฮุน อายุ 28 ปี นายคิม ยุน โด อายุ 30 ปี นายลี กวาง ซุน อายุ 31 ปี นายชอง โด วอน อายุ 33 ปี นายโน เชิง มุน อายุ 31 ปี นางสาวฮา ฮโอ นา อายุ 31 ปี นายจาง ชาง ยุก อายุ 24 ปี ทั้งหมดอยู่ในอาการตกใจเมื่อเห็นเจ้าหน้าที่ จากการตรวจค้น พบคอมพิวเตอร์โน้ตบุค 8 โทรศัพท์ 7 เครื่อง สายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เร้าเตอร์ 7 เครื่อง สมุดบัญชีมีเงินหมุนเวียนหลายล้านวอน จึงรวบรวมไว้เป็นหลักฐานก่อนนำตัวไปสอบสวนที่ สน.คลองตัน จาการสอบสวนทราบว่า กลุ่มชาวเกาหลีดังกล่าว เดินทางเข้าออกภายในคอนโดฯแห่งนี้มาตั้งแต่ช่วงประมาณวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยเช่าห้องพักเดือนละ 40,000 บาท ทางเจ้าหน้าที่จึงร่วมกันตรวจสอบความเคลื่อนไหว พบว่ามีความผิดปกติ ก่อนจะตรวจสอบพบว่า ชาวเกาหลีกลุ่มดังกล่าวมีพฤติการณ์เป็นแกงค์คอลเซ็นเตอร์ ใช้พื้นที่ประเทศไทยเป็นฐานในการก่อเหตุ ทำทีเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหายที่ประเทศเกาหลี เพื่อหลอกให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร โดยมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการตรวจสอบของทางเจ้าหน้าที่ เบื้องต้นแจ้งข้อหาเป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนส่งตัวให้พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป.

เดลินิวส์ออนไลน์
รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเอาเงินชาวเกาหลี | เดลินิวส์
„วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 21:12 น.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/crime/330311
ที่มา : http://www.dailynews.co.th/crime/330311
ชื่อ: เชียงใหม่: ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์-แก๊งสกิมเมอร์
โดย: chusit เมื่อ 17 มิถุนายน 2016 12:38

ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์-แก๊งสกิมเมอร์



จับผู้ต้องหาต่างชาติ ใช้จังหวัดเชียงใหม่เป็นฐานตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแก๊งสกิมเมอร์...

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/videos/regional/000370
ชื่อ: ตม.บุกจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ คาบ้านพักย่านบางนา
โดย: chusit เมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 21:17
ตม.บุกจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ คาบ้านพักย่านบางนา

(http://upic.me/i/5d/njpus24ncqkx5e1bavdtsyexkhbzqyjq85tw2xg8scp.jpg) (http://upic.me/show/60830922)

ตำรวจตรวจค้นเข้าเมือง เข้าจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติคาบ้านพักย่านบางนา อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกเหยื่อในจีนและไต้หวันโอนเงิน เร่งประสานประเทศต้นทาง

เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2560 พลตำรวจโทณัฐธร เพราะสุนทร ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง นำทีมตำรวจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เข้าค้นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ภายในหมู่บ้านนภาลัย ซอย 13 ถนนสรรพาวุธ เขตบางนา เพื่อบุกจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไต้หวัน ของนายโจว จวิน เฉิง อายุ 31 ปี และผู้ร่วมขบวนการอีก 7 คน ซึ่งเป็นชาวไต้หวัน 2 คน และชาวจีน 6 คน พร้อมยึดของกลางคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรศัพท์ข้ามประเทศ และรายชื่อผู้เสียหายกว่า 1,000 รายชื่อ

โดยขบวนการดังกล่าว จะอ้างตัวเป็นพนักงานธนาคาร ติดต่อไปหาเหยื่อในต่างประเทศ แล้วอ้างว่าบัญชีของเหยื่อถูกบุคคลต้องสงสัยเปิดใช้และนำเงินไปใช้เกี่ยวกับยาเสพติด หากเหยื่อไม่เชื่อก็จะทำการโอนสายไปอีกต่อหนึ่ง โดยจะมีผู้ร่วมขบวนการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ อาทิ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ ปปง. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เหยื่อที่หลงเชื่อก็จะส่งข้อมูลเอกสารทางการเงินให้เก็บขบวนการนี้ และยอมโอนเงินให้ตามการโน้มน้าวของกลุ่มผู้ต้องหา

ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เปิดเผยว่า เหยื่อส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศจีนและไต้หวัน เนื่องจากขบวนการในลักษณะนี้จะไม่ก่อเหตุในประเทศที่ตั้งศูนย์เซ็นเตอร์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบว่ามีผู้เสียหายอยู่ในประเทศไทย อยู่ระหว่างเตรียมการประสานขอข้อมูลกับทางการไต้หวันว่ามีผู้เสียหายในไทยหรือไม่ จึงจะสามารถประเมินมูลค่าความเสียหายทั้งหมดได้ ทั้งนี้ผู้ต้องหาได้ให้การซัดทอดไปยังนายเหลียง ตัวการใหญ่ในประเทศไต้หวัน ตำรวจจึงประสานให้ทางการไต้หวันควบคุมตัวเพื่อดำเนินคดีแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ พบกลุ่มผู้ต้องหาเดินทางเข้ามายังประเทศไทยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยเดินทางมาจากหมู่เกาะไซปัง ภายในมหาสมุทรแปซิฟิก ใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา และมาเช่าบ้านหลังดังกล่าวเพื่อตั้งเป็นฐานบัญชาการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยจ่ายค่าเช่าเดือนละ 40,000 บาท ซึ่งทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพิกถอนการอยู่ในราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้ว เตรียมผลักดันกลับประเทศต้นทาง.


ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/942693
ชื่อ: อ้าง ‘ดีเอสไอ’ โทรรีด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตุ๋นเหยื่อเชื่อสนิท โอนเงินกว่า3ล้าน
โดย: chusit เมื่อ 08 มิถุนายน 2017 14:59
อ้าง ‘ดีเอสไอ’ โทรรีด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตุ๋นเหยื่อเชื่อสนิท โอนเงินกว่า3ล้าน

   (http://upic.me/i/oq/njpus24ncqkx5e1ba2c58gllfycrikgnjnrvuzd2njo.jpg) (http://upic.me/show/60948723)

          กองปราบฯรวบสาวใหญ่เมียหัวหน้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างตัวเป็น จนท.ดีเอสไอ หลังจับสามีได้ก่อนหน้านี้ ใช้เบอร์โทร.ดีเอสไอพูดจาข่มขู่ทำธุรกิจผิดกฎหมาย ลวงเหยื่อโอนเงินให้แลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี ผู้เสียหายบางรายหลงเชื่อสูญเงินกว่า 3 ล้านบาท ผู้ต้องหาให้การไม่มีส่วนรู้เห็นผัวแสบเอาบัตรประชาชนไปแอบเปิดบัญชีธนาคารให้เหยื่อโอนเงินเข้า ตำรวจเร่งตามล่าอีก 3 เพื่อนร่วมตุ๋นล็อกเมียหัวหน้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เผยขึ้นที่กองบังคับการปราบปราม เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 28 พ.ค. พล.ต.ต.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผบก.ป. สั่งการให้ พ.ต.อ.อรุณ วชิรศรีสุกัญยา ผกก. 2 บก.ป. พ.ต.ท.กรกช ยงยืน สว.กก.2 บก.ป. และเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ กก.2 บก.ป. จับกุม น.ส.อรษา เจ๊เปิ้ล โตยะบุตร อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24 ซอยเพชรเกษม 79 แยก 1 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กทม. ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลแขวงจังหวัดนนทบุรี ที่ 249/2555 ลงวันที่ 25 ก.ค. 55 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จับได้ที่ร้านอาหารสวัสดิการวิทยาลัยพยาบาลทหารเรือ กองบังคับการกรมแพทย์ทหารเรือ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กทม.

พ.ต.อ.อรุณกล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจาก น.ส.อรษา พร้อมนายชายแดน มณีทร อายุ 37 ปี สามีและพวกอีก 3 คน ตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรศัพท์ไปหลอกเอาเงินจากผู้เสียหาย ออกอุบายอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และหน่วยงานราชการต่างๆ ก่อนพูดจาข่มขู่ผู้เสียหายส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ หลอกว่าธุรกิจที่ทำอยู่ผิดกฎหมาย หากไม่อยากให้ถูกดำเนินคดีหรือตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ให้โอนเงินมาให้ตามบัญชีธนาคารที่ผู้ต้องหากลุ่มนี้ให้ไว้ ที่ผ่านมามีผู้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อถูกหลอกหลายราย บางรายถูกหลอกสูญเงินกว่า 3 ล้านบาท

ผกก.2 บก.ป.เผยอีกว่า สาเหตุผู้เสียหายหลงเชื่อเนื่องจากทุกครั้งที่ก่อเหตุ กลุ่มผู้ต้องหาจะโทรศัพท์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ VOIP แปลงสัญญาณดิจิตอล มีเทคนิคสามารถอำพรางหมายเลขโทรศัพท์ที่โทร.ไปหาเหยื่อ เป็นหมายเลขโทรศัพท์ของที่ใดก็ได้ ให้ไปปรากฏที่โทรศัพท์ของผู้รับ เบอร์โทร.ส่วนใหญ่ที่กลุ่มผู้ต้องหาใช้จะเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของดีเอสไอ รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานราชการต่างๆ ทำให้ผู้เสียหายเกิดความหวาดกลัว อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ ส.รฟ.หนองคาย กก.5 บก.รฟ. และ กก.2 บก.ป.ได้ร่วมกันจับกุมนายชายแดน หัวหน้าแก๊งสามี น.ส.อรษาได้ที่บริเวณสถานีรถไฟหนองคาย ต.หนองกอมเกาะ อ.เมืองหนองคาย ก่อนจะขยายผลสืบสวนติดตามจับ น.ส.อรษา เหลือผู้ต้องหาอีก 3 ราย ที่ยังหลบหนี  สอบสวน น.ส.อรษาให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับคดีดังกล่าว ส่วนที่ถูกออกหมายจับ เป็นเพราะว่านายชายแดนสามีแอบนำบัตรประชาชนของตนไปเปิดบัญชีธนาคารเพื่อใช้กระทำความผิด ให้ผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ไม่ปักใจเชื่อคำให้การ ก่อนนำตัวส่ง พงส.สภ. ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/955622
ชื่อ: จับชาวจีนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นจนท.รัฐ ตุ๋นเหยื่อคนไทยสูญ 10 ล. อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.th
โดย: chusit เมื่อ 08 มิถุนายน 2017 15:05
(http://upic.me/i/8n/njpus24ncqkx5e1a6menoxkriyhqqyndfisdn1ycvpj.jpg) (http://upic.me/show/60948767)

จับชาวจีนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นจนท.รัฐ ตุ๋นเหยื่อคนไทยสูญ 10 ล.

ตำรวจกองปราบรวบสองชาวจีนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกเหยื่อคนไทย สูญกว่า 10 ล้าน ขณะตระเวนกดเงินตามตู้เอทีเอ็มริมถนนรัชดา-ห้วยขวาง...
วันนี้ 21 มี.ค.60 ที่กองปราบปราม พล.ต.ต.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผบก.ป. มอบหมายสั่งการให้ พ.ต.อ.จิรภพ ภูริเดช ผกก.1 บก.ป.พ.ต.ท.วิศิษฐ์ พลบม่วง รองผกก.1บก.ป. พ.ต.ต.ก่อเกียรติ วุฒิจำนงค์ สว.กก.1บก.ป. และเจ้าหน้าที่กก.1 บก. จับกุมนายชัยชนะ แซ่ว่อง อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 263 หมู่ 2 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยจับกุมได้ที่ริมถนนรัชดา-ห้วยขวาง แขวงและเขตห้วยขวาง และน.ส.จงผิง แซ่เจิ้ง อายุ 39 ปี โดยจับกุมได้ที่ซ.รามคำแหง 24

พ.ต.อ.จิรภพ กล่าวว่า สืบเนื่องจากชุดสืบสวนกองปราบปรามได้รับการประสานจากธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ว่ามีลูกค้าของธนาคารถูกขบวนการคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินให้ โดยคนร้ายออกอุบายโทรศัพท์หาผู้เสียหาย อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หลอกเหยื่อว่าเงินในบัญชีของเหยื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จึงเสนอวิธีในการหลีกเลี่ยงตรวจสอบ โดยให้ย้ายเงินในบัญชีธนาคารเดิมไปเปิดบัญชีธนาคารใหม่ ซึ่งเป็นบัญชีของธนาคารไทยพาณิชย์ และให้เพิ่มหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งเป็นเบอร์ของคนร้าย เพื่อรับรหัส OTP และเมื่อเงินเข้าในระบบก็จะมีการแจ้งข้อความมายังเบอร์ของคนร้าย จากนั้นก็จะดำเนินการสมัครทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ทำการโอนเงินออกไป ก่อนจะออกตระเวนกดเงินสดออกจากบัญชี อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพบวามีผู้เสียหายกว่า 35 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท

ต่อมาชุดสืบสวนทราบว่าคนร้ายที่ก่อเหตุคือนายชัยชนะ จึงได้เฝ้าติดตาม กระทั่งพบความเคลื่อนไหวว่าคนร้ายรายนี้ไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มริมถนนรัชดา-ห้วยขวาง จึงได้ทำการจับกุมก่อนไปทำการตรวจค้นในห้องพักย่านห้วยขวาง ก็พบบัตรเดบิตจำนวนมากในห้องพัก นอกจากนี้ได้ขยายผลจับกุม น.ส.จงผิง แซ่เจิ้ง อายุ 39 ปี ซึ่งเป็นผู้ร่วมขบวนการ โดยจับกุมได้ที่ ซ.รามคำแหง 24 ก่อนขยายผลไปตรวจค้นห้องพักใน ซ.รามคำแหง 24 พบ สำเนาสมุดบัญชีจำนวนมาก

จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่าอยู่ในกลุ่มเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์สัญชาติจีน ซึ่งมีอาฉีเป็นหัวหน้าขบวนการ โดยนายชัยชนะจะทำหน้าที่เป็นม้ากดเงิน โดยได้ส่วนแบ่งครั้งละ 5,000 บาทต่อครั้ง ส่วนน.ส.จงผิง จะทำหน้าที่เป็นม้าเปิดบัญชี ซึ่งได้ส่วนแบ่งในการเปิดบัญชีครั้งละ 5,000 บาท ต่อหนึ่งบัญชี โดยเงินที่ได้จากส่วนแบ่งจะนำไปใช้จ่ายส่วนตัวและนำไปซื้อยาเสพติด

เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาร่วมกันฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นผู้อื่น ก่อนคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย ในส่วนของผู้ร่วมขบวนการรายอื่นๆ อยู่ระหว่างการขยายผลเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีต่อไป.

ทีjมา: http://www.thairath.co.th/content/891802
ชื่อ: จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไต้หวัน ตั้งฐานในไทยหลอกโอนเงิน
โดย: chusit เมื่อ 22 ตุลาคม 2019 21:19
 
(http://upic.me/i/le/8i57g6889aaiaeh78jadh.jpg) (http://upic.me/show/62515898)

(http://upic.me/i/rz/5gdchaj9k9adfaagaig5b.jpg) (http://upic.me/show/62515899)

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม. , พล.ต.ต.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ รอง ผบช.สตม. , พล.ต.ต.สุรพงษ์ ชัยจันทร์ รอง ผบช.ภ.7 ปฏิบัติราชการ รอง ผบช.สตม. , พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง ผบก.ตม 3 , พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม ผบก.สส.สตม. , พ.ต.อ.ภาส สิริสุขะ รอง ผบก.ตม.3 , พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย รอง ผบก.สส.ภ.2 , พ.ต.อ.ทินกร รังมาตย์ รอง ผบก.ปส.3 , พ.ต.อ.มานะ นาคทั่ง รอง ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช , พ.ต.อ.อิทธิพล จันทร์ศรีบุตร รอง ผบก.สกส.บช.ปส. ปฏิบัติราชการ สตม. , พ.ต.อ.รัชธพงศ์ เตี้ยสุด ผกก.สส.บก.ตม.3 , พ.ต.อ.สัมพันธ์ เหลืองสัจจกุล ผกก.ตม.จว.ชลบุรี , พ.ต.อ.ปรม พฤทธิกุล ผกก.ฝอ.บก.สส.ภ.4 , พ.ต.อ.ณรงค์ ชนะภัยกุล ผกก.ฝ่ายกิจการต่างประเทศ บก.อก.บช.ส. , พ.ต.อ.ทิวา โสภาเจริญ ผกก.ฝอ.ศทก. ปฏิบัติราชการ สตม. ร่วมแถลงข่าวการจับกุมคนร้าย ดังนี้

                 สืบเนื่องเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 ชุดสืบสวน ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ร่วมกับ กองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 และตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดชลบุรี ได้รับคำสั่งให้สืบสวนติดตามกลุ่มบุคคลชาวไต้หวันที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำผิด ข่มขู่เรียกเงินคนชาติเดียวกัน หลังจาก พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม. ได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไต้หวันประจำประเทศไทย ว่ามีกลุ่มคนร้ายชาวไต้หวันได้ตั้งฐานศูนย์โทรศัพท์ (Call Center) ในประเทศไทยแล้วโทรศัพท์ผ่านระบบโทรศัพท์ทางอินเตอร์เน็ต หรือ วีโอไอพี (VOIP : Voice Over Internet Protocol) ไปหลอกลวงเหยื่อชาวไต้หวัน โดยปลอมเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสุขภาพ หลอกเหยื่อว่าบัตรประกันสุขภาพของเหยื่อถูกขโมย หลังจากนั้นมีการโอนสายที่สอง อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อบอกเหยื่อว่าอัยการที่ดูแลเรื่องนี้ให้มาศาล จึงทำให้เหยื่อหลงเชื่อ ต่อมาจึงส่งแฟกซ์ซึ่งเป็นหนังสือราชการปลอมให้กับเหยื่อ เหยื่อจึงหลงเชื่อคิดว่าเป็นเรื่องจริง จึงมีการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารของไต้หวันที่เปิดรองรับไว้ แล้วมีกลุ่มคนร้ายอีกกลุ่มถอนเงินออก เบื้องต้นกลุ่มคนร้ายกลุ่มนี้หลอกลวงเหยื่อตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคม 2561 ถึงปัจจุบัน ความเสียหายที่ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ที่ไต้หวันแล้ว จำนวน 21 ราย รวมความเสียหายประมาณ 30 ล้านบาท ผบช.สตม.จึงได้สั่งการให้ชุดจับกุมสืบสวนจนทราบว่ากลุ่มคนร้ายตั้งฐานเป็นศูนย์โทรศัพท์อยู่ในบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ อยู่หมู่ที่ 4 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี สืบสวนพบชาวไต้หวัน จำนวน 13 คน เป็นบุคคลมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม ผบก.ตม.3 จึงดำเนินการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและควบคุมกักตัวไว้ที่ห้องกัก สตม. เพื่อรอผลักดันส่งกลับไต้หวันต่อไป

                 จากการตรวจสอบบ้านพักที่เป็นศูนย์โทรศัพท์ (Call Center) พบของกลางที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดในการหลอกลวงผู้เสียหายชาวไต้หวัน เช่น โทรศัพท์มือถือ จำนวน 44 เครื่อง, คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค จำนวน 10 เครื่อง , เครื่องปล่อยสัญญาณอินเตอร์เน็ต (เร้าเตอร์) จำนวน 17 เครื่อง , กล่อง Voip Gateway จำนวน 23 กล่อง , เครื่องโทรศัพท์บ้าน จำนวน 43 เครื่อง , ซิมการ์ดที่ยังไม่ได้ใช้งาน เครือข่าย Dtac  จำนวน 5 ชิ้น , ซิมการ์ด Roaming ยี่ห้อ Blackberry จำนวน 4 ชิ้น , เครื่องบันทึกเสียงไม่ทราบยี่ห้อ จำนวน 3 เครื่อง , แผ่นกระดาษและสมุดจดบันทึกเป็นภาษาจีน (สคริปต์บทสนทนาหลอกลวง) จำนวนมาก , หนังสือจิตวิทยาขั้นสูงในการก่ออาชญากรรม ฉบับภาษาจีน จำนวน 1 เล่ม และแฟลชไดร์ฟ จำนวน 3 ชิ้น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไต้หวันให้ความสำคัญกับคดีนี้มากใช้ระยะเวลาในการสืบสวนติดตามเป็นระยะเวลานานเนื่องจากกลุ่มคนร้ายมีความสามารถในการหลบซ่อนและหลอกลวงเหยื่อจำนวนมากมีมูลค่าความเสียหายสูง โดยในวันนี้ทางการไต้หวันได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไต้หวัน จำนวน 5 นาย เดินทางเข้าพบ ผบช.สตม. เพื่อประสานงานและขอตรวจสอบพยานหลักฐานที่ตรวจยึดไว้ ซึ่งจะต้องทำการสืบสวนขยายผลประสานข้อมูลกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอย่างต่อเนื่อง

                 "สตม.ขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม.มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทำความผิดในด้านต่างๆ รวมทั้งดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติ หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178 หรือที่ www.immigration.go.th"

ที่มา: https://www.komchadluek.net/news/breaking-news/383779
ชื่อ: จับยกแก๊ง 15ชาวญี่ปุ่น ตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โทรตุ๋นเพื่อนร่วมชาติ
โดย: chusit เมื่อ 22 ตุลาคม 2019 21:22
(http://upic.me/i/lp/1-696x409.jpg) (http://upic.me/show/62515900)

จับยกแก๊ง  /  เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง รรท.ผบช.สตม. พล.ต.ต.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย รองผบช.สตม. พล.ต.ต.สรายุทธ สงวนโภคัย รองผบช.สตม. พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม ผบก.สส.สตม. พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง ผบก.ตม3


              ตัวแทนจากสถานเอกอักคราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และตำรวจสตม. ร่วมแถลงส่งตัวผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่ชาวญี่ปุ่น 15 คน ที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการก่อเหตุหลอกลวงผู้เสียหายชาวญี่ปุ่นให้โอนเงินมาให้ สร้างความเสียหายกว่า 200 ล้านเยนหรือประมาณกว่า 70 ล้านบาท ซึ่งมีผู้เสียหายเป็นชาวญี่ปุ่นกว่า 200 คน

              พล.ต.ท.สมพงษ์ กล่าวว่า ปฏิบัติการครั้งนี้ตำรวจไทยทำตามแผนการตรวจคนเข้าเมือง เพื่อกวาดล้างบุคคลต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาประกอบอาชีพในไทยอย่างผิดกฎหมาย โดยผู้แจ้งเป็นเจ้าของที่พักที่เห็นพฤติกรรมผิดปกติ จึงได้แจ้งตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดชลบุรีตรวจสอบ จนพบว่าชาวญี่ปุ่นทั้ง 15 รายเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์

               พล.ต.ต.อาชยน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตรวจคน เข้าเมือง 3 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดชลบุรี ขอหมายศาลแขวงพัทยา เข้าตรวจค้นบ้านเลขที่ 78/219 หมู่บ้านสยามรอยัลวิลล์ หมู่ 10 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

พบคนต่างด้าวสัญชาติญี่ปุ่น จำนวน 15 คน นั่งทำงานอยู่ในบ้านหลังดังกล่าว พร้อมอุปกรณ์ในลักษณะของกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ เช่น ไอพีโฟน เครื่องขยายสัญญาณอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เอกสารข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียหายชาวญี่ปุ่น และบทสนทนาสำหรับหลอกลวงเหยื่อ เป็นต้น

ภายหลังจากการจับกุมดังกล่าวทางการญี่ปุ่นได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาประสานข้อมูลเพื่อนำไปขยายผลต่อในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ทราบว่ามีผู้เสียหาย ซึ่งถูกหลอกลวงจากผู้ต้องหา กลุ่มนี้ไม่ต่ำกว่า 200 ราย ความเสียหายไม่ต่ำกว่า 200 ล้านเยน ซึ่งศาลแขวงนครโตเกียวได้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 15 รายในข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกง”

พล.ต.ต.อาชยน กล่าวต่อว่า ทั้งนี้แก๊งดังกล่าวได้ใช้วิธีการข่มขู่ผู้เสียหายที่เคยซื้อข้อมูลจากดาร์คเว็ปของญี่ปุ่น หรือมีหมายศาลปลอมส่งผ่านอีเมลให้ผู้เสียหายกลัวและหลงเชื่อ โดยการโอนเงินจะให้ผู้เสียหายซื้อบัตรอีมันนี่ที่ร้านสะดวกซื้อและส่งรหัสให้กับผู้ต้องหา และหากพบว่าเหยื่ออยู่บ้านเพียงลำพัง ก็จะส่งเครือข่ายชาวญี่ปุ่นไปปล้นที่บ้านพัก และฆาตกรรมเจ้าทรัพย์ ซึ่งการจับกุมในครั้งนี้ถือว่าได้ตัวการ 1-2 คน

                  จากการสืบสวนทราบว่าเมื่อช่วงเดือนก.พ. – มี.ค. กลุ่มชาวญี่ปุ่นทั้ง 15 คน เดินทางเข้ามาประเทศไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยว เข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าว แล้วส่งใบแจ้งหนี้บริษัทที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นปลอม หรือหมายศาลปลอมไปหลอกลวงผู้เสียหาย ที่กลุ่มผู้ต้องหามีข้อมูลส่วนตัวอยู่แล้ว ทั้งชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อีเมล์แอดเดรส เป็นต้น

               เพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าตนเคยสมัครใช้งานบริการทางอินเตอร์เน็ตแล้ว ค้างชำระค่าบริการ จะต้องรีบชำระค่าบริการ เพื่อไม่ให้ถูกดำเนินคดี หรือเพื่อให้มีส่วนลดค่าบริการโดยเมื่อ ผู้เสียหายติดต่อกับกลุ่มผู้ต้องหา ซึ่งมีการจัดระบบไอพีโฟนในประเทศไทย เพื่อให้เชื่อว่าเป็นตัวแทนบริษัทเจ้าหนี้ซึ่งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น แล้วหลอกผู้เสียหายให้ไปซื้อบัตรเติมเงินอิเลกทรอนิกส์ (e-money) ที่ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน หลอกให้ผู้เสียหายส่งรหัสบัตรเติมเงินดังกล่าวให้กลุ่มผู้ต้องแล้วโอนเงินออกจากบัตรทันที

                  สำหรับกลุ่มผู้ต้องหาทั้ง 15 คนจะถูกดำเนินคดีในประเทศตามพ.ร.บ.ตรวจคนเข้าเมือง ในข้อหา

“เป็นบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวประกอบอาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาต”

พร้อมขึ้นแบล็คลิสต์ห้ามเข้าประเทศ โดยในวันที่ 24 พ.ค. นี้ จะทำการส่งกลับทั้ง 15 คน ไปดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกง ที่ประเทศญี่ปุ่นต่อไป

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_2542673
ชื่อ: จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไต้หวัน ตั้งฐานในไทยหลอกโอนเงิน เสียหายราว 30 ล.
โดย: chusit เมื่อ 22 ตุลาคม 2019 21:28
จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไต้หวัน ตั้งฐานในไทยหลอกโอนเงิน เสียหายราว 30 ล.                 

(http://upic.me/i/9b/750x422_844053_1565880807.jpg) (http://upic.me/show/62515901)

เมื่อวันที่ 15 ส.ค.62 พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.สุรพงษ์ ชัยจันทร์ รอง ผบช.ภ.7 ปฏิบัติราชการ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง ผบก.ตม 3, พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.ภาส สิริสุขะ รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย รอง ผบก.สส.ภ.2, พ.ต.อ.ทินกร  รังมาตย์ รอง ผบก.ปส.3, พ.ต.อ.มานะ นาคทั่ง รอง ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช, พ.ต.อ.อิทธิพล จันทร์ศรีบุตร รอง ผบก.สกส.บช.ปส. ปฏิบัติราชการ สตม., พ.ต.อ.รัชธพงศ์ เตี้ยสุด ผกก.สส.บก.ตม.3, พ.ต.อ.สัมพันธ์ เหลืองสัจจกุล  ผกก.ตม.จว.ชลบุรี, พ.ต.อ.ปรม พฤทธิกุล ผกก.ฝอ.บก.สส.ภ.4, พ.ต.อ.ณรงค์ ชนะภัยกุล ผกก.ฝ่ายกิจการต่างประเทศ  บก.อก.บช.ส., พ.ต.อ.ทิวา โสภาเจริญ ผกก.ฝอ.ศทก. ปฏิบัติราชการ สตม. ร่วมแถลงข่าวการจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวไต้หวัน 13 ราย ใช้ไทยเป็นฐานหลอกลวงผู้อื่น


             รวบ 'เสี่ยท็อป' คาสนามบินดอนเมือง หลังบินกลับจากฮ่องกง
จับสมาชิก '14 แก๊งโรแมนซ์สแกม' แดนมังกร
พณ.ต่ออายุมาตรการรสกัดทุ่มตลาดเหล็ก 'จีน-เวียดนาม-ไต้หวัน'
'ไบโอเมตริก' ตรวจจับต่างชาติติดแบล็คลิสต์แอบลักลอบเข้าประเทศ


              สืบเนื่องจากวันนี้ (14 ส.ค.) ชุดสืบสวน ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ร่วมกับ กองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 และตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดชลบุรี ได้รับคำสั่งให้สืบสวนติดตามกลุ่มบุคคลชาวไต้หวันที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำผิด ข่มขู่เรียกเงินคนชาติเดียวกัน หลังจาก พล.ต.ท.สมพงษ์ ได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไต้หวันประจำประเทศไทย ว่ามีกลุ่มคนร้ายชาวไต้หวันได้ตั้งฐานศูนย์โทรศัพท์ (Call Center) ในประเทศไทยแล้วโทรศัพท์ผ่านระบบโทรศัพท์ทางอินเตอร์เน็ต หรือ วีโอไอพี (VOIP : Voice Over Internet Protocol) ไปหลอกลวงเหยื่อชาวไต้หวันโดยปลอมเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสุขภาพ หลอกเหยื่อว่าบัตรประกันสุขภาพของเหยื่อถูกขโมย หลังจากนั้นมีการโอนสายที่สองอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อ บอกเหยื่อว่าอัยการที่ดูแลเรื่องนี้ให้มาศาลให้เหยื่อหลงเชื่อ ต่อมาจึงส่งแฟกซ์ซึ่งเป็นหนังสือราชการปลอมให้กับเหยื่อ เหยื่อจึงหลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงมีการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารของไต้หวันที่เปิดรองรับไว้แล้วมีกลุ่มคนร้ายอีกกลุ่มถอนเงินออก เบื้องต้นกลุ่มคนร้ายกลุ่มนี้หลอกลวงเหยื่อตั้งแต่ประมาณเดือน ต.ค. 61 ถึงปัจจุบัน ความเสียหายที่ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ที่ไต้หวัน แล้ว จำนวน 21 ราย รวมความเสียหายประมาณ 30 ล้านบาท ผบช.สตม. จึงได้สั่งการให้ชุดจับกุมสืบสวนจนทราบว่ากลุ่มคนร้ายตั้งฐานเป็นศูนย์โทรศัพท์อยู่ในบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ อยู่หมู่ที่ 4 ต.สเม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี สืบสวนพบชาวไต้หวัน จำนวน 13 คน เป็นบุคคลมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคมฯ ผบก.ตม.3 จึงดำเนินการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและควบคุมกักตัวไว้ที่ห้องกัก สตม. เพื่อรอผลักดันส่งกลับไต้หวันต่อไป

              จากการตรวจสอบบ้านพักที่เป็นศูนย์โทรศัพท์ (Call Center) พบของกลางที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดในการหลอกลวงผู้เสียหายชาวไต้หวัน เช่น โทรศัพท์มือถือ จำนวน 44 เครื่อง, คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค จำนวน 10 เครื่อง, เครื่องปล่อยสัญญาณอินเตอร์เน็ต (เร้าเตอร์) จำนวน 17 เครื่อง, กล่อง Voip Gateway จำนวน 23 กล่อง, เครื่องโทรศัพท์บ้าน จำนวน 43 เครื่อง, ซิมการ์ดที่ยังไม่ได้ใช้งาน เครือข่าย Dtac จำนวน 5 ชิ้น, ซิมการ์ด Roaming ยี่ห้อ Blackberry จำนวน 4 ชิ้น, เครื่องบันทึกเสียงไม่ทราบยี่ห้อ จำนวน 3 เครื่อง, แผ่นกระดาษและสมุดจดบันทึกเป็นภาษาจีน (สคริปต์บทสนทนาหลอกลวง)จำนวนมาก, หนังสือจิตวิทยาขั้นสูงในการก่ออาชญากรรม ฉบับภาษาจีน จำนวน 1 เล่ม และแฟลชไดร์ฟ จำนวน 3 ชิ้น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไต้หวันให้ความสำคัญกับคดีนี้มากใช้ระยะเวลาในการสืบสวนติดตามเป็นระยะเวลานานเนื่องจากกลุ่มคนร้ายมีความสามารถในการหลบซ่อนและหลอกลวงเหยื่อจำนวนมากมีมูลค่าความเสียหายสูง โดยในวันนี้ทางการไต้หวันได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไต้หวัน จำนวน 5 นาย เดินทางเข้าพบ ผบช.สตม. เพื่อประสานงานและขอตรวจสอบพยานหลักฐานที่ตรวจยึดไว้ ซึ่งจะต้องทำการสืบสวนขยายผลประสานข้อมูลกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง อย่างต่อเนื่อง

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/844053